วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ใบงานที่3 เรื่องขอบข่ายและประเภทของโครงงาน


ใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงาน
--------------------------------------------------------------------

โครงงานคอมพิวเตอร์  แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานดังนี้
-   การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
-   การพัฒนาเครื่องมือ
-   การทดลองทฤษฎี
-   การประยุกต์ใช้งาน
-   การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์

1.      การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา       
สื่อการสอนไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใด รูปแบบใดก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และทักษะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพสังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร การใช้สื่อการสอนในรูปแบบที่เหมาะสมจึงมีความจำเป็นมากขึ้น เพราะสื่อจะช่วยให้การรับรู้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสื่อและวิธีการเสนอสื่อนั้นๆ ด้วย สื่อธรรมดาที่สุด เช่น ชอล์กและกระดานดำหรือไวท์บอร์ด หากมีการออกแบบการใช้ที่ดีก็อาจมีประสิทธิภาพในการสื่อความหมายมากกว่าการใช้สื่อที่ซับซ้อน และมีราคาแพงกว่าก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม สื่อแต่ละประเภทย่อมมีข้อดีและข้อจำกัดในตัวเอง
          สื่อมัลติมีเดียก็เช่นเดียวกับสื่ออื่น คือ มีทั้งข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ข้อได้เปรียบที่เห็นชัดเจนคือ ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลข้อมูล นำเสนอข้อมูล ภาพ เสียง และข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพดังกล่าวนี้เมื่อผนวกเข้ากับการออกแบบโปรแกรมที่ดี ย่อมส่งผลดีต่อการเรียนการสอน ข้อเสียเปรียบของสื่อมัลติมีเดียก็มีอยู่ไม่น้อย ประการสำคัญคงเป็นราคาของคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นก็เป็นความซับซ้อนของระบบการทำงานซึ่งเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ นับว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความยุ่งยากในการใช้งาน อย่างไรก็ตาม ความยุ่งยากของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ลดลงตามลำดับ บริษัทผู้พัฒนาโปรแกรมได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้การใช้คอมพิวเตอร์มีความง่ายสำหรับคนทุกคนทุกอาชีพ
           การติดต่อกับผู้ใช้ด้วยกราฟิก (Graphical User Interface หรือ GUI) ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ง่ายและเป็นกันเองมากขึ้น ความง่ายต่อการใช้และประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์นี้เอง ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเริ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน เริ่มจากโรงเรียนที่มีความพร้อม แล้วขยายวงออกไป จนปัจจุบันกลายเป็นสิ่งที่โรงเรียนทุกแห่งควรจะต้องมี คำถามที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มค่าของการลงทุนยังคงมีอยู่ตลอดเวลา คำตอบที่ชัดเจนคงมีเพียงคำตอบเดียวคือ หากเราใช้เทคโนโลยีอย่างนี้อย่างคุ้มค่าก็เป็นสิ่งที่น่าลงทุน
          เมื่อกล่าวถึงความคุ้มค่าของการใช้คอมพิวเตอร์ คนส่วนใหญ่จะคิดว่า ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่นั้นจะนำมาใช้งานอะไรได้บ้าง ตรงกับความต้องการหรือไม่ เพียงพอหรือไม่ ความคุ้มค่าอยู่ที่เราได้อะไรจากการใช้คอมพิวเตอร์ ในโรงเรียนนอกจากงานด้านบริหารจัดการแล้ว ความคุ้มค่าของการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ที่คุณภาพและปริมาณของสื่อมัลติมีเดีย และแผนการใช้เพื่อการเรียนการสอนอีกด้วย
          สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนั้น คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และข้อความ เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานี้ มีข้อแตกต่างจากสื่อมัลติมีเดียที่ใช้เพื่อการนำเสนอข้อมูลหรือการประชาสัมพันธ์อยู่หลายด้าน บทบาทของสื่อมัลติมีเดียทั้ง 2 ลักษณะจึงมีดังนี้
2.       สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
          - เป้าหมายคือ การสอน อาจใช้ช่วยในการสอนหรือสอนเสริมก็ได้
          - ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน
          - มีวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุเฉพาะ โดยครอบคลุมทักษะความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และเจตคติ ส่วนจะเน้นอย่างใดมากน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และโครงสร้างของเนื้อหา
          - เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง
          - ใช้เพื่อการเรียนการสอน แต่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น
          - ระบบคอมพิวเตอร์สื่อมัลติมีเดียเป็นชุดของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการส่งและรับข้อมูล
          - รูปแบบการสอนจะเน้นการออกแบบการสอน การมีปฏิสัมพันธ์ การตรวจสอบความรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยา และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก
          - โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด
          - การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำ
3.       สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
          - เป้าหมายคือ การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการคิด การตัดสินใจ ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ
          - ผู้รับข้อมูลอาจเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่
          - มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ
          - เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
          - ใช้มากในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจ
          - อาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เพื่อเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือเพื่อต้องการให้ผู้ชมได้ชื่นชม และคล้อยตาม
          - เน้นโครงสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นต้น ไม่ตรวจสอบความรู้ของผู้รับข้อมูล
          - โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอ
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่นักการศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง พัฒนาการของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนในประเทศตะวันตก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา มีความรุดหน้าอย่างเด่นชัด ยิ่งเมื่อมองภาพการใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายด้วยแล้ว บทบาทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนจะยิ่งโดดเด่นไปอีกนานอย่างไร้ขอบเขต รูปแบบต่างๆ ของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนได้รับการพัฒนาขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จนกระทั่งเมื่อกล่าวถึงสื่อมัลติมีเดีย ทุกคนจะมองภาพตรงกัน คือ การผสมผสานสื่อหลากหลายรูปแบบเพื่อนำเสนอผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนได้รับการบันทึกไว้บนแผ่นซีดีรอมและเรียกบทเรียนลักษณะนี้ว่า CAI เมื่อกล่าวถึง CAI จึงหมายถึงสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอบทเรียนโดยมีภาพ และเสียงเป็นองค์ประกอบหลัก โดยภาพและเสียงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบของข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือวีดิทัศน์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบบทเรียน ส่วนเสียงนั้นจะมีทั้งเสียงจริง เสียงบรรยาย และอื่นๆ ที่เหมาะสม โดยทั้งหมดนี้จะถ่ายทอดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งต่อเป็นระบบเครือข่ายหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
          เมื่อเทคโนโลยีเครือข่ายมีความก้าวหน้ามากขึ้น การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายก็ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นตามลำดับเช่นกัน เครือข่ายใยแมงมุมโลกหรือที่เรียกทั่วไปว่า เว็บ (Web) ได้รับการพัฒนาและการตอบสนองจากผู้ใช้อย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เว็บกลายเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ธุรกิจทั่วโลกให้ความสนใจ ซึ่งรวมทั้งธุรกิจด้านการศึกษาด้วย โดยเฉพาะด้านการศึกษานั้น เว็บได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกหนทุกแห่งในโลกมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในเว็บได้ใกล้เคียงกัน
          การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) ได้รับความสนใจจากนักการศึกษาเป็นอย่างมาก ในช่วง ค.ศ. 1995 ถึงปัจจุบัน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอนทั้งระบบการสอน และการออกแบบบทเรียนได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการพัฒนาโปรแกรมสร้างบทเรียนหรืองานด้านมัลติมีเดียเพื่อสนับสนุนการสร้างบทเรียนบนเว็บมีความก้าวหน้ามากขึ้น โปรแกรมสนับสนุนการสร้างงานเหล่านี้ล้วนมีคุณภาพสูง ใช้งานง่าย เช่น โปรแกรม Microsoft FrontPage โปรแกรม Dream Weaver โปรแกรม Macromedia Director โปรแกรม Macromedia Flash และโปรแกรม Firework นอกจากโปรแกรมดังกล่าวแล้ว โปรแกรมช่วยสร้างสื่อมัลติมีเดียอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมในการนำมาสร้างบทเรียนมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน เช่น Macromedia Authorware และ ToolBook ก็ได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้งานบนเว็บได้ การเปลี่ยนแปลงรวมทั้งบทบาทของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ส่งผลต่อการจัดรูปแบบการเรียนการสอนนี้เอง ที่ทำให้การเรียนการสอนทางไกลการฝึกอบรมทางไกล รวมทั้งการเรียนการสอนในลักษณะของการอภิปรายโต้ตอบทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย ซึ่งทำได้ยากและต้องเสียค่าใช้จ่ายมากจะเป็นเรื่องที่ไม่แปลกใหม่ในอนาคต
2. การพัฒนาเครื่องมือ
เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการที่เป็นระบบเพื่อให้ได้ข้อมูล หรือพฤติกรรมที่เราต้องการค้นพบ  โดยใช้ระบบจำนวนมาช่วยในการแปลความหมายของข้อมูลที่เก็บมาได้จากสิ่งที่ถูกวัด  ข้อมูลที่เก็บมาได้ถือเป็นการวัดผล
            ส่วนการประเมิน เป็นกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลแล้วนำมาเทียบกับเกณฑ์เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ    การจะสรุปผลการประเมินได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม จะต้องได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพ
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
        1. กำหนดสิ่งที่ต้องการวัด
        2. นิยามสิ่งที่ต้องการวัด
        3. เลือกชนิดของเครื่องมือ
        4. สร้าง
        5. ทบทวน
        6. ตรวจสอบคุณภาพ
        7. ทดลอง/ปรับปรุง
        8. ทำฉบับจริง/จัดทำคู่มือ

    การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
        การตรวจสอบสำหรับเครื่องมือทั่ว ๆ ไป จะมีการตรวจสอบในสองลักษณะคือ ตรวจสอบรายข้อ(ความยาก, อำนาจจำแนก) และตรวจสอบทั้งฉบับ(ความตรง, ความเที่ยง)

        ความยาก (สัดส่วนของผู้ที่ตอบถูกกับผู้ตอบทั้งหมด)
            -แบบอิงกลุ่ม ใช้เทคนิค 27% (แบ่งกลุ่มสูง กลุ่มต่ำ หาจำนวนคนตอบถูกในแต่ละกลุ่ม นำมารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนคนทั้งสองกลุ่มรวมกัน)
            
-แบบอิงเกณฑ์ แบ่งคนรู้/ไม่รู้โดยใช้คะแนนจุดตัดถาวร(แล้วหาว่าได้กลุ่มละกี่คน นำจำนวนคนที่ตอบถูกหารด้วยจำนวนทั้งหมดในกลุ่ม(ทำทั้งสองกลุ่ม) ได้เท่าไร นำทั้งสองกลุ่มมารวมกันแล้วหารด้วย 2)

        อำนาจจำแนก (ความสัมพันธ์ของความสามารถของผู้ตอบกับการตอบถูก)
            -แบบอิงกลุ่ม
                    -ใช้เทคนิค 27% (เหมือนหาความยากแบบอิงกลุ่มแต่นำจำนวนคนในกลุ่มสูงลบด้วยคนในกลุ่มต่ำแล้วหารด้วยจำนวนคนในกลุ่มสูง(หรือจำนวนคนทั้งสองกลุ่มหารด้วย2)
           
-แบบอิงเกณฑ์
                    -แบ่งกลุ่มรอบรู้/ไม่รอบรู้เหมือนหาความยากแบบอิงเกณฑ์ ได้เท่าไรนำผลในกลุ่มรอบรู้ตั้ง ลบด้วยผลในกลุ่มไม่รอบรู้
           
-กรณีไม่ใช่แบบวัดสติปัญญา
                -วิธีที่ 1 หาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สูตรของเพียร์สัน(ข้อที่หากับคะแนนรวมของข้ออื่น ๆ)
                    -วิธีที่ 2 แบ่ง 25%(กลุ่มสูง/กลุ่มต่ำ) ทดสอบความแตกต่างด้วย t-test (เกณฑ์ 1.70 ขึ้นไป)

        ความตรง
            -ความตรงตามเนื้อหา ใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC) จาก ผชช. เกณฑ์ .5 ขึ้นไป
            -ความตรงตามเกณฑ์
                -ความตรงตามสภาพ  ถ้าข้อมูลอันตรภาค ใช้สูตรของเพียร์สัน(กับคะแนนมาตรฐานหรือเกณฑ์) ถ้าข้อมูลจัดอันดับใช้สูตรของสเปียร์แมน บราวน์
                    -ความตรงเชิงพยากรณ์ ใช้สูตรของเพียร์สัน(เทียบกับคะแนนเกณฑ์)
            -ความตรงตามโครงสร้าง
                -วิธีที่ 1 หา IOC (กรณีไม่ใช่การวัดด้านเนื้อหา)
                    -วิธีที่ 2 เทคนิคกลุ่มรู้ชัด แล้วเปรียบเทียบโดยใช้ t-test (กรณีไม่ใช่การวัดด้านเนื้อหา)
                    -วิธีที่ 3 เทียบกับเครื่องมืออื่น โดยใช้สูตรของเพียร์สัน
                    -วิธีที่ 4 วิธีวิเคราะห์หลายลักษณะหลายวิธี
                    -วิธีที่ 5 หาความสอดคล้องภายในเครื่องมือ
                    -วิธีที่ 6 วิเคราะห์องค์ประกอบ

        ความเที่ยง
            -เชิงความคงที่  วิธีการสอบซ้ำ แล้วใช้สูตรของเพียร์สัน
           
-เชิงความคล้าย วิธีใช้ข้อสอบคู่ขนาน แล้วใช้สูตรของเพียร์สัน
           
-เชิงความสอดคล้องภายใน
                -วิธีที่ 1 วิธีแบ่งครึ่งข้อสอบ หาครึ่งฉบับด้วยสูตรของเพียร์สัน แล้วหาเต็มฉบับด้วยสูตรของสเปียร์แมน บราวน์
                    -วิธีที่ 2 วิธีใช้สูตร KR-20,KR-21(กรณีคะแนนเป็น 0 กับ 1)
                    -วิธีที่ 3 สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค(กรณีคะแนนไม่ใช่ 0 กับ 1)

        การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลยังมีอีกหลายด้าน เช่น ความเป็นปรนัย  ความยุติธรรม  ความสามารถในการนำไปใช้ แต่สิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบคือความตรง และความเที่ยง โดยจะตรวจสอบความตรงเป็นอันดับแรกเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเครื่องมือสามารถวัดได้ตรงในสิ่งที่ต้องการวัด  จากนั้นจะต้องตรวจสอบความเที่ยงเพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่า เครื่องมือมีความคงเส้น คงวาในการวัด เกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อคิดอย่างหนึ่งว่า "เครื่องมือที่มีความตรง มักจะมีความเที่ยง แต่เครื่องมือที่มีความเที่ยง อาจจะไม่มีความตรงก็ได้"

3.การทดลองทฤษฎี

            ทฤษฎีการออกแบบเชิงการทดลอง

เป้นแง่มุมของทฤษฎีที่ว่าด้วยหัวข้อต่าง ๆ เช่น
  • เงื่อนไขการทดลอง คือแง่มุมต่าง ๆของสถานการณ์ในการทดลอง
  • วิถี หมายถึงการออกแบบการทดลองปกติ ได้แก่จำนวนเงื่อนไขใดบ้างในการทดลองที่ต้องคำนึงถึง การออกแบบการทดลองยังรวมถึงเงื่อนไขหลาย ๆ อย่างที่ต้องคำนึงถึงพร้อม ๆ กัน
    • ระดับการทดลอง คือจำนวนค่าที่ต่างกันของวิถึการออกแบบ
    • การซ้ำการทดลอง คือวิธีพิเศษในการออกแบบที่ใช้โดยการทำซ้ำเดิมวิถีทางโดยการผสมการออกแบบการทดลองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
  • ภาวะการทดลอง คือจำนวนวิถึของการออกแบบที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งพิจารณาด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้องคือ
    • รูปร่าง เช่น ข้อมูลอาจจะเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่า (สองทาง,หนึ่งภาวะ)หรือเป็นสี่เหลี่ยมด้านขนาน (สองทาง, สองภาวะ)
    • สมมาตรหรือไม่สมมาตร ข้อมูลที่เป็นสี่เหลี่ยมอาจจะสมมาตรหรืไม่ก็ได้ โดยข้อมูลที่ไม่สมมาตรจะเรียกว่าข้อมูลสามเหลี่ยม
    • ข้อมูลแจกแจงหลายตัวแปร ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นสี่เหลี่ยมด้านขนาน ส่วนใหญ่มีหนึ่งภาวะ และข้อมูลมักจะอยู่เรียงตัวเป็นสดมภ์
  • ความสมบูรณ์ หากไม่มีข้อมูลหาข้อมูลจะเรียกว่าข้อมูลที่สมบูรณ์
  • หมวดหมู่ในการสำรวจ
    • การสำรวจจะต้องจัดหมวดหมู่
    • สามารถใช้ตัวแปรเสริมของข้อมูล
  • หมวดหมู่ต้องชัดเจนและมีจำนวนน้อย

ทฤษฎีในการวัดผล

เป็นแง่มุมเกี่ยวกับการกำหนดค่าตัวเลขให้กับลักษณะเฉพาะของสิ่งที่สำรวจหรือ เหตุการณ์ต่าง ๆ โดยกำหนดกฏเกณฑ์ที่ใช้ให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่ายและได้ค่าตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับชุดของการวัดผลอื่น ๆ เท่าที่เป็นไปได้

4.การประยุกต์ใช้งาน
            การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการต่างๆ ก็นำเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ก็ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา
      เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

   - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ

   - การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น

   - อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้

   - วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)
 
   - ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้

    - การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
 
   - อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก
 
ประยุกต์ใช้ในงานทะเบียนของสถานศึกษา
   - งานรับมอบตัว ทำหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานที่นักศึกษานำมารายงานตัว จากนั้นก็จัดเก็บประวัติภูมิหลังนักศึกษา เช่น ภูมิลำเนา บิดามารดา ประวัติการศึกษา ทุนการศึกษา ไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลประวัตินักศึกษา

    - งานทะเบียนเรียนรายวิชา ทำหน้าที่จัดรายวิชาที่ต้องเรียนให้กั บนักศึกษา ในแต่ละภาคเรียนทุกชั้นปี ตามแผนการเรียนของแต่ละแผนก แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลผลการเรียน

   - งานประมวลผลการเรียน ทำหน้าที่นำผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอนมาประมวลในแต่ละภาคเรียน จากนั้นก็จัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลผลการเรียน และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

   - งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา ทำหน้าที่ตรวจสอบรายวิชา และผลการเรียน ที่นักศึกษาเรียนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบหลักสูตร จากแฟ้มเอกสาร ข้อมูลผลการเรียน ว่าผ่านเกณฑ์การจบหรือไม่

    - งานส่งนักศึกษาฝึกงาน ทำหน้าที่หาข้อมูลจากสถานที่ฝึกงาน ในแต่ละแห่งว่าสามารถรองรับจำนวน นักศึกษาที่จะฝึกงานในรายวิชาต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนเท่าใด จากนั้นก็จัดนักศึกษา ออกฝึกงานตามรายวิชา ให้สอดคล้องกับจำนวนที่สถานประกอบการต้องการ

ประยุกต์ใช้ในห้างสรรพสินค้าและสาขาย่อย
         เนื่องจากห้างสรรพสินค้า เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มีอยู่หลายสาขาที่จัดจำหน่ายอยู่ทั่วประเทศ มีซัพพลายเออร์กว่าพันราย และมีพนักงานอยู่หลายพันคน ดังนั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการตัดสินใจต้องทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นการที่ต้องใช้เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องอ่านบาร์โค้ดจึงมีความจำเป็นฝ่าย เทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นฝ่ายสนับสนุน สิ่งสำคัญที่สุดคือ  เราต้องให้ความมั่นใจได้ว่า ระบบจะต้องทำงานได้ไม่มีปัญหาขัดข้อง ปัจจุบันระบบการเชื่อมต่อห้างสรรพสินค้าจะเป็นแบบสอง ลักษณะคือในต่างจังหวัดจะใช้การเชื่อมต่อผ่านดาวเทียม ในกรุงเทพจะใช้การเชื่อมต่อแบบออนไลน์ ซึ่งจะมีการรับส่งข้อมูลกันทุกวัน ในส่วนของไอที นอกจากจะต้องทำให้ระบบ สามารถทำงานได้ตลอดเวลาแล้ว ยังต้องมั่นใจด้วยว่าข้อมูลที่รับส่งกันนั้นมีความถูกต้อง ซึ่งในแต่ละวันมีข้อมูลมาก ที่จะต้องผ่านการประมวลผลให้แก่ผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลยอดขายข้อมูลสต็อกและข้อมูลต่างๆ ที่ ผู้บริหารต้องการ

ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์
         เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้ 
   - ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
   - การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
   - สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
   - เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
   - เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
   - ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย

ประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
         กลุ่มนักวิทยาสตร์ วิศวกรที่ต้องการศึกษาพฤติกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวต รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นศึกษาการกระจายถิ่นที่อยู่ของนก การกระจายของแบคทีเรีย การสร้างอาณาจักรของมด ผึ้ง ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าต่าง ๆ การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดจนระบบนิเวศวิทยา ความสนใจในการจำลองความเป็นอยู่ของ สิ่งมีชีวิตได้มีมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่ครั้ง จอห์น พอยเมน ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์ เสนอแนวคิดการทำให้เครื่องจักรทำงานโดยอัตโนมัติภายใต้โปรแกรม ซึ่งเป็นรากฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จนถึงปัจจุบันเกมแห่งชีวิตจึงเกิดขึ้น

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
         เทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมในปัจจุบันก้าวไกลไปมาก มีบริการมากมายที่ทันสมัยและตอบรับกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างการใช้โทรศัพท์ในปัจจุบันนี้ก็มิไดมีไว้เพียงสำหรับคุยสนทนาเพียง อย่างเดียวอีกต่อไป แต่มันสามารถช่วยงานได้มากขึ้น โดยอ้างอิงข้อมูลและการเปิดให้บริการของบริษัท มีติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งภาพและเสียง มีโทรศัพท์มือถือรุ่นต่าง ๆ ออกมามากมาย พัฒนาทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่นเทเลคอม เอเชีย คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้วางแผนการก่อสร้าง และติดตั้งขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2.6 ล้านเลขหมาย ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงการซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 25 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการในปัจจุบัน

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์
        การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการออกแบบ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ ( CAD : Computer Aided Design) ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบสินค้า และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยควบคุมกระบวนการผลิต ( CAM : Computer Aided Menufacturing ) เช่นควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ลดแรงงาน โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ทำงาน
 
ประยุกต์ใช้ในสำนักงานภาครัฐและเอกชน
         ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ต่าง ๆ มากมาย เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน การเกิด การตาย การเสียภาษีอากร การทำใบอนุญาตขับรถยนต์ การจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ การประมวลผลคะแนนเลือกตั้ง ฯลฯ เป็นต้น งานเหล่านี้ได้มีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้ เพื่อทำให้ได้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว และยังตอบสนองกับการบริหารยุคใหม่ที่ต้องใช้ข้อมูลเป็นหลักในการบริหาร จัดการ

          กล่าวโดยสรุปคือ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ เกือบทุกวงการ ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของบุคคลหรือองค์กรใด ๆ ก็ตาม ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในหน่วยงานด้านการศึกษาก็มีความตื่นตัวและเปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตร ดังกล่าว ทั้งในระดับ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และเป็นสาขาวิชาที่มีนักศึกษา ให้ความสนใจ กันมากเนื่องจากยังมีตลาดแรงงานรองรับมากนั่นเอง


5.การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
โปรแกรมประยุกต์ หรือ ซอฟท์แวร์ประยุกต์
           การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้ งานคล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก           การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไป ทำให้ ทำงาน ได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงาน ของตน

ซอฟต์แวร์สำเร็จ

ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลา ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่ม   ใหญ่ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software ) และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software)

1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบ เอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบ ตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีก มากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น   วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร

2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน
เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการ เสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ   และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จบน กระดาษ มีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตาราง ทำงานสามารถ ประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส

3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บใน คอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็ เรียก ว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุป ผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส

4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์ เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความ หมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และ รูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก

5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล
ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ ติดต่อสื่อสาร กับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้าย แฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งาน จากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก

ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ

การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบาง อย่าง ไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า   การ ออกใบเสร็จ รับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ ตรงกับความ ต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการ ทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทาง ธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ
ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนา ซอฟต์แวร์เพื่อ พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย
ตัวอย่าง รายชื่อโปรแกรมประยุกต์ โดยตัวอย่างได้แก่
โปรแกรมสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต เช่น
อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์โพลเรอร์, ไฟร์ฟอกซ์, ไฟล์ซิลลา
ไฟร์ฟอกซ์


จัดทำโดย
นางสาวสวรรยา  ฟักจันทร์  เลขที่  23
นางสาวอภิญญา  นันตาเครือ  เลขที่ 30
ม. 6/10

ใบงานที่2 เรื่องความหมายและความสำคัญของโครงงาน


ใบงานที่ 2 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
----------------------------------------------------------------------------
ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของสังคม ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านนี้มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะคอยติดตามความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการศึกษาเทคโนโลยี ของคอมพิวเตอร์ จึงต้องศึกษาหลักการและเนื้อหาพื้นฐานเป็นสำคัญ การศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์  เป็นสิ่งจำเป็นเสมือนกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ คอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลง โลกของเราในด้านต่างๆ มากมาย ได้แก่
1.  สังคมโดยส่วนใหญ่เปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ
2.  การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ มักขึ้นอยู่กับข้อมูลซึ่งได้จากระบบคอมพิวเตอร์
3.  คอมพิวเตอร์กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญแทนเครื่องมืออื่นๆ ในอดีต เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคิดเลข เป็นต้น
4.  คอมพิวเตอร์ถูกใช้ในการออกแบบสถานการณ์หรือปัญหาที่ซับซ้อนต่างๆ
5.  คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในงานติดต่อสื่อสารของโลกปัจจุบัน

การ ศึกษาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีขึ้น เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในวิทยาการคอมพิวเตอร์ และมีความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมได้ การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์จะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เรียน สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้อย่างสมบูรณ์ จุดมุ่งหมายที่สำคัญประการหนึ่งของการเรียน
การส อน คอมพิวเตอร์ ในโรงเรียน คือ การที่ผู้เรียนได้มีโอกาสนำความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ    ด้วยตนเอง   ซึ่งวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งคือการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

โครง งานคอมพิวเตอร์เป็นการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ในการศึกษา ทดลอง แก้ปัญหาต่างๆ เพื่อนำผลงานที่ได้มาประยุกต์ใช้งานจริง หรือเพื่อใช้ช่วยสร้างสื่อเสริมการเรียนการสอนให้มี   ประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น โครงงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียน รู้และฝึกทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งเครื่องมือต่างๆในการแก้ปัญหา รวมทั้งการพัฒนาเจตคติในการสร้างผลงาน

โครง งานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เรียนสามารถศึกษาปัญหาที่ตนสนใจ ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่ต้องใช้ความรู้ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาผสมผสานกัน ซึ่งบางโครงงานอาจต้องใช้ความรู้อื่นๆ มาร่วมด้วย โดยผู้เรียนจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรมหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง  ตลอด จนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน โครงงานบางเรื่องอาจต้องการวัสดุอุปกรณ์นอกเหนือจากที่มีอยู่ ซึ่งผู้เรียนจะต้องพัฒนาขึ้น หรือดัดแปลงเพื่อให้ใช้งานได้ตรงกับความต้องการ โดยในการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์จะอยู่ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของผู้ สอน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ

การ ทำโครงงานและการจัดงานแสดงโครงงานคอมพิวเตอร์จะมีคุณค่าต่อการฝึกฝนให้ผู้ เรียนมีความรู้ ความชำนาญ และมีทักษะในการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเองดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และยังมีคุณค่าอื่นๆ อีกดังต่อไปนี้
· เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
· เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจได้ลึกซึ้งกว่าการเรียนในห้องตามปกติ
·ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน
·  กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจในการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางด้านนี้
· ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
· สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสนใจคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
· สร้างสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาและพัฒนาระบบด้วยตนเอง



จัดทำโดย
นางสาวสวรรยา  ฟักจันทร์  เลขที่  23
นางสาวอภิญญา  นันตาเครือ  เลขที่ 30
ม. 6/10
ที่มา : http://kroosuveera.blogspot.com/2011/09/blog-post_13.html

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทความ ภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน (Global Warming)


สารคดีพิเศษ : โลกร้อน ความจริงที่ทุกคนต้องรู้
เรื่อง : วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ / ภาพประกอบ : อ้อย กาญจนะวณิชย์

๑. สาเหตุของการเกิดโลกร้อนคืออะไร 
เมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศของโลกยังไม่มีความเข้มข้นมากนัก คลื่นความร้อนจึงสะท้อนออกนอกโลกได้มากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ทำให้ก๊าซเรือนกระจก ในชั้นบรรยากาศของโลกมีความเข้มข้นขึ้น คลื่นความร้อนจึงสะสมอยู่บริเวณพื้นผิวโลก

ภาวะโลกร้อน ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งพูดกันหรือเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ แต่ปัญหาโลกร้อนได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว นับแต่ที่มนุษย์เริ่มรู้จักเครื่องจักรไอน้ำและนำเอาเชื้อเพลิงฟอสซิล อันได้แก่ ถ่านหิน และน้ำมัน ขึ้นมาใช้ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณมากโดยน้ำมือของมนุษย์ 

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทำนายไว้เมื่อราวศตวรรษก่อนกำลังเป็นความจริงแล้วในปัจจุบัน 

ประมาณปี ค.ศ. ๑๘๙๐ Svante Arrhenius นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน ได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศกับอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลก และพบว่า หากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของโลกลดลงครึ่งหนึ่ง จะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกลดลงถึง ๕ องศาเซลเซียส 

ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเริ่มต้นยุคอุตสาหกรรม มีการปล่อยก๊าซต่างๆ ขึ้นสู่อากาศมากขึ้น Svante ทำนายว่าในอนาคตโลกจะร้อนขึ้น จากการเผาไหม้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาลลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของโลก โดยเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ภาวะเรือนกระจก 

ภาวะเรือนกระจก ก็คล้ายกับการที่เราสร้างเรือนกระจกกลางแจ้ง แสงแดดสามารถผ่านเข้ามาในเรือนกระจก แต่ความร้อนที่เกิดขึ้นไม่สามารถระบายออกข้างนอกได้ ทำให้อุณหภูมิภายในเรือนกระจกสูงขึ้นเรื่อยๆ 

ปัจจุบันโลกสีน้ำเงินใบนี้ ก็ไม่ต่างจากเรือนกระจก 

โดยปรกติชั้นบรรยากาศของโลกจะประกอบด้วยก๊าซชนิดต่างๆ และไอน้ำ เมื่อรังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านชั้นบรรยากาศเข้ามายังพื้นผิวโลก มันจะถูกดูดกลืนไว้ด้วยพื้นน้ำ พื้นดิน พืช และสัตว์ หลังจากนั้นก็จะคายออกมาเป็นพลังงานในรูปของรังสีคลื่นยาวอินฟราเรด ซึ่งเป็นคลื่นความร้อน กลับขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศและบางส่วนก็ถูกกักเก็บไว้โดยก๊าซในชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก ดังนั้นที่ผ่านมาโลกของเราจึงสามารถรักษาอุณหภูมิได้อย่างเหมาะสม ไม่ร้อนจัดเหมือนดาวศุกร์ หรือเย็นจัดอย่างดาวอังคาร 

แต่ปัจจุบันชั้นบรรยากาศของโลกไม่ได้อยู่ในภาวะปรกติอีกต่อไป 

ชั้นบรรยากาศถือได้ว่าเป็นส่วนที่อ่อนไหวที่สุดในระบบนิเวศของโลกใบนี้ 

คาร์ล ซาแกน (Carl Sagan) นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกคนหนึ่งเคยกล่าวว่า “หากคุณเอาน้ำยาขัดเงามาทาลูกโลก ความหนาของชั้นน้ำยาก็เปรียบได้กับชั้นบรรยากาศเมื่อเทียบกับขนาดของโลก” 

ทุกวันนี้ชั้นบรรยากาศของโลกถูกปกคลุมด้วยก๊าซเรือนกระจกมากเกินไป ก๊าซเรือนกระจกนั้นประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก รวมถึงก๊าซมีเทน ก๊าซซีเอฟซี ก๊าซโอโซน ฯลฯ ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีในการดูดกลืนและเก็บกักรังสีอินฟราเรด ดังนั้นรังสีอินฟราเรดที่ควรจะสะท้อนออกนอกโลก ก็จะถูกเก็บกักสะสมไว้ในชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้พื้นผิวโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ 

ดร. อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกเราว่า 

“ปัญหาเรื่องภาวะเรือนกระจกก็คือ ก๊าซเรือนกระจกมันไม่ได้หนาขึ้น แต่มันเข้มข้นมากขึ้น สาเหตุหลักคือธาตุคาร์บอนที่เคยสะสมอยู่ในรูปของน้ำมันและถ่านหิน ซึ่งควรจะอยู่ในที่ของมันในแผ่นดิน แต่เราเอามาเผาเพื่อนำพลังงานมาใช้ ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งตามธรรมชาติถ้าเราให้เวลามันนานเพียงพอ กระบวนการตามธรรมชาติในโลกจะค่อยๆ ดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศกลับออกไป แต่ตอนนี้เราขุดคาร์บอนขึ้นมาเผาวันละ ๘๐ ล้านบาร์เรล มันเร็วเกินกว่าที่กระบวนการตามธรรมชาติจะกำจัดออกไปได้ มันก็สะสมในชั้นบรรยากาศมากขึ้นจนทำให้ภาวะเรือนกระจกในปัจจุบันมีความรุนแรงมากเกินกว่าสภาพตามธรรมชาติ” 

๒. นอกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ก๊าซเรือนกระจกยังประกอบด้วยอะไรบ้าง 

 
กราฟแสดงการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก
ในรอบ ๕๐ ปีที่ผ่านมา จาก ๓๑๐ ppm ขึ้นมาเป็น ๓๘๐ ppm ในปัจจุบัน 
ที่มา : NOAA/Scripps Institution of Oceanography

ก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วยก๊าซที่สำคัญ คือ

 ๕๓ %  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (๓๘๐ ppm) 
ทุกวันนี้ในชั้นบรรยากาศมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ๓๘๐ โมเลกุลในทุกๆ ๑ ล้านโมเลกุลของมวลอากาศ หรือ ๓๘๐ ppm (parts per million) และมีการเพิ่มขึ้นประมาณปีละ ๑ เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับราว ๑๐๐ ปีก่อน ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ระดับความเข้มของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศอยู่ที่ประมาณ ๒๘๐ ppm นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า ในอีก ๑๐๐ ปีข้างหน้า ถ้าไม่มีการแก้ไขหรือชะลอการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ ๑,๐๐๐ ppm ซึ่งเป็นการเพิ่มในอัตราที่เร็วกว่าที่ผ่านมาอย่างมาก 

สาเหตุที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในชั้นบรรยากาศนั้น นอกจากว่ามาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การตัดไม้ทำลายป่าและเผาป่าเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่การเกษตร เนื่องจากต้นไม้มีคุณสมบัติที่ดีในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ให้ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อพื้นที่ป่าลดน้อยลง ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศจึงสูงขึ้น และการเผาป่ายังทำให้ซากพืชซากสัตว์ที่อยู่ในดินถูกทำลายกลายเป็นก๊าซชนิดนี้เพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศด้วย 

เมื่อ ๑๐ ปีก่อน b นักวิทยาศาสตร์ได้สำรวจวัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และอุณหภูมิของโลกย้อนกลับไปเมื่อ ๖๕๐,๐๐๐ ปีก่อน โดยวิเคราะห์จากแท่งน้ำแข็งที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวโลก และได้ข้อสรุปว่าอุณหภูมิของโลกมีความสัมพันธ์กับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ เมื่อช่วงเวลาใดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก อุณหภูมิของโลกก็จะสูงขึ้นด้วย 

แต่ที่น่าตกใจก็คือ ตลอดระยะเวลา ๖๕๐,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา ไม่มีช่วงใดเลยที่ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์พุ่งขึ้นสูงเกินระดับ ๓๐๐ ppm เหมือนในปัจจุบัน 

อันที่จริงอย่าเพิ่งมองว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นผู้ร้ายเสมอไป เพราะหากโลกนี้ขาดก๊าซชนิดนี้แล้ว พืชก็คงไม่สามารถสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารให้แก่มวลมนุษยชาติได้ เพียงแต่ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์ผลิตขึ้นมามีมากเกินไป และเกินกว่าที่กระบวนการตามธรรมชาติจะกำจัดได้ 

 ๑๗ %  ก๊าซมีเทน (๑.๘ ppm) 
เป็นก๊าซที่เกิดจากปลูกข้าว การเลี้ยงสัตว์ และการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล แม้ว่าก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศจะมีเพียงเล็กน้อย แต่โมเลกุลของก๊าซมีเทนสามารถดูดกลืนรังสีความร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง ๒๕ เท่า 

ปัญหาการปลดปล่อยก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศได้กลายเป็นประเด็นทางการเมืองระหว่างประเทศด้วย กล่าวคือที่ผ่านมาเวลามีการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยปัญหาภาวะเรือนกระจก ประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก จะพยายามยกประเด็นว่าประเทศกำลังพัฒนาซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศเกษตรกรรม ก็ปลดปล่อยก๊าซมีเทนมากด้วยเช่นกัน โดยยกตัวอย่างการปลูกข้าวแบบให้น้ำท่วมขังเพื่อเป็นการควบคุมวัชพืช ซึ่งจะทำให้ดินขาดออกซิเจน แบคทีเรียบางชนิดจึงผลิตก๊าซมีเทนมากขึ้น และเนื่องจากก๊าซมีเทนสามารถเก็บกักความร้อนได้ดีกว่า ดังนั้นประเทศพัฒนาแล้วจึงพยายามกดดันให้ประเทศกำลังพัฒนาร่วมรับผิดชอบด้วยในระดับหนึ่ง 

 ๑๓ %  ก๊าซโอโซนระดับผิวโลก (๐.๐๓ ppm) 
เมื่ออยู่ในชั้นบรรยากาศสูงๆ ก๊าซโอโซนจะช่วยปกป้องโลกจากรังสีอัลตราไวโอเลต แต่โอโซนที่อยู่ในระดับผิวโลกจะทำหน้าที่เป็นสารออกซิแดนท์ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต ถือได้ว่าเป็นก๊าซโอโซนที่แม้จะอยู่ในบรรยากาศของโลกเพียงเล็กน้อย แต่มีความสามารถในการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด ทำให้โลกอบอุ่นขึ้นด้วย 

 ๑๒ %  ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (๐.๓ ppm) 
โรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติก ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิต จะปลดปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ รวมไปถึงปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้ในการทำการเกษตร และแม้ว่าในธรรมชาติจะมีการปล่อยก๊าซชนิดนี้ออกมา แต่ก๊าซไนตรัสออกไซด์จากโรงงานอุตสาหกรรมมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความร้อนในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น 

 ๕ %  ก๊าซซีเอฟซี (๑ ppm) 
ก๊าซชนิดนี้เป็นก๊าซที่มีสารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน มีใช้อยู่ในเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น สเปรย์ น้ำยาดับเพลิง ฯลฯ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดรูโหว่ของโอโซนในชั้นบรรยากาศ ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตส่องลงมาถึงพื้นโลกได้มากขึ้น แม้ว่าปัจจุบันทั่วโลกได้รณรงค์ลดการปล่อยก๊าซซีเอฟซีลงได้ถึง ๔๐ % แต่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในชั้นบรรยากาศก็มีส่วนในการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด จนเกิดความร้อนสะสมขึ้นประมาณ ๐.๒๘ วัตต์/ตารางเมตร 

๓. ใครคือผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 

“มีพยานหลักฐานใหม่ๆ ยืนยันได้ว่า ภาวะโลกร้อนขึ้นในรอบ ๕๐ ปี ส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมของมนุษย์” 
IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) 

ในปี ค.ศ. ๒๐๐๗ IPCC หรือคณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์กว่า ๒,๕๐๐ คนจากทั่วโลก มารวมตัวกันเพื่อทำงานสืบหาข้อเท็จจริงและแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ได้รายงานว่า มีความเป็นไปได้สูงกว่าร้อยละ ๙๐ ว่าการกระทำของมนุษย์ อาทิการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โลกร้อนขึ้นในรอบ ๕๐ ปีที่ผ่านมา 

ปัจจุบันบรรยากาศของโลกมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ๓ ล้านล้านตัน และมนุษย์ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศปีละ ๒๖,๐๐๐ ล้านตัน ขณะที่เมื่อทศวรรษ ๑๙๗๐ มนุษย์ปล่อยก๊าซชนิดนี้เพียงปีละ ๑๕,๐๐๐ ล้านตัน โดยกิจกรรมของมนุษย์ที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ประกอบด้วย 

โรงงานอุตสาหกรรม ประมาณ ๔๐ % 
ความเจริญเติบโตทางอุตสาหกรรมเป็นตัวกระตุ้นสำคัญให้เกิดการใช้เชื้อเพลิงและไฟฟ้า ปัจจุบันประเทศจีนและอินเดียที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนทำให้โลกร้อนขึ้น ไม่ต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรป 

อาคาร สำนักงาน ศูนย์การค้า บ้านพักอาศัย ประมาณ ๓๑ % 
รวมถึงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของคนในเมือง ซึ่งล้วนแล้วแต่มีส่วนในการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งสิ้น 

การขนส่งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ ประมาณ ๒๒ % 
ทุกวันนี้มนุษย์เดินทางโดยอาศัยยานพาหนะมากขึ้น ความต้องการในการใช้รถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นปีละ ๒ % และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าอีก ๑๕ ปีข้างหน้า โลกจะมีรถยนต์ทั้งสิ้นรวม ๗๐๐ ล้านคัน 

และนับแต่ที่มีสายการบินต้นทุนต่ำ ประชาชนทั่วโลกจึงนิยมเดินทางโดยเครื่องบินกันมากขึ้น ยังไม่นับไปถึงว่าสายการบินทั่วโลกกำลังมีแผนการขยายเส้นทางการบินให้เชื่อมถึงกันทั่วทุกประเทศในอนาคต ซึ่งการเผาผลาญพลังงานของเครื่องบินจะทำให้เกิดก๊าซมลพิษบนท้องฟ้ามากขึ้น และยังไปทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศให้มีปริมาณลดลง 

การเกษตรกรรม ประมาณ ๔% 
สถาบันวิจัยป่าแอมะซอนของบราซิลรายงานว่า ผลจากการเผาป่าแอมะซอนหลายสิบล้านไร่ในแต่ละปีเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่การเกษตร ได้ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่า ๔ เท่าของปริมาณก๊าซชนิดนี้ที่เกิดจากการเผาน้ำมันของชาวบราซิลเพื่อใช้เป็นพลังงาน 

๔. ประเทศใดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด 


 ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ประเทศต่างๆ ปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในแต่ละปี (ล้านตัน)
ที่มา : World Resources 2005
สหรัฐอเมริกา ๕,๗๖๒
จีน ๓,๔๗๔
รัสเซีย ๑,๕๔๐
ญี่ปุ่น ๑,๒๒๕
อินเดีย ๑,๐๐๘
อังกฤษ ๕๕๘
ออสเตรเลีย ๓๓๒
ไทย ๑๗๒
มาเลเซีย ๑๒๔
ลาว ๐.๔

ประเทศที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยที่สุด คนอเมริกันปล่อยก๊าซชนิดนี้ปีละ ๕,๗๖๒ ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ ๒๔ ของปริมาณก๊าซทั่วโลก ขณะที่อเมริกามีประชากรเพียงร้อยละ ๕ ของประชากรทั้งโลก ตามมาด้วยจีนที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกติดต่อกันหลายปี ส่งผลให้จีนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศปีละ ๓,๔๗๔ ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๕ 

ขณะที่คนไทย โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศปีละ ๑๗๒ ล้านตัน หรือคนละ ๒.๘ ตันต่อปี ซึ่งถือว่าสูงกว่าประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ 

แต่หากคิดเป็นสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อประชากรแล้วจะพบว่า ประชากรในกลุ่มประเทศอาหรับ คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ คูเวต ล้วนติดอันดับต้นๆ โดยปล่อยก๊าซชนิดนี้ถึงคนละ ๒๖ ตันต่อปี เพราะประเทศเหล่านี้มีประชากรน้อย แต่การผลิตน้ำมันซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูง ตามมาด้วยประชากรในประเทศทุนนิยมเต็มตัว ได้แก่ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คนละ ๑๕-๒๐ ตันต่อปี 

๕. ทุกวันนี้โลกร้อนขึ้นเพียงใด 


กราฟแสดงให้เห็นว่า ตลอดระยะเวลา ๖ แสนปีที่ผ่านมา หากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ในชั้นบรรยากาศมีความเข้มข้นมากขึ้น อุณหภูมิของโลกก็จะสูงตามไปด้วย 
ที่มา : 
นิตยสาร Science

ทุกวันนี้อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกเพิ่มขึ้นประมาณ ๑ องศาเซลเซียส เปรียบเทียบกับเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีที่แล้ว โดยเฉพาะช่วงหลัง ค.ศ. ๑๙๘๐ อุณหภูมิของโลกได้พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว 

ฟังดูเผินๆ อาจเข้าใจว่า โลกร้อนขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่อย่าลืมว่านั่นคืออุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของทั้งโลกในรอบ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา ในความเป็นจริงแผ่นดินมักจะร้อนกว่าพื้นน้ำ กล่าวคือในขณะที่แผ่นดินซึ่งมีพื้นที่เพียงประมาณ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ของพื้นผิวโลกร้อนขึ้น ๓-๔ องศาเซลเซียส ทะเลซึ่งมีพื้นผิวมากกว่าแผ่นดินถึง ๔ เท่าอาจจะร้อนขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่การที่ทั้งโลกร้อนเพิ่มขึ้น ๑ องศาได้นั้น นั่นหมายความว่าแผ่นดินจะต้องร้อนเพิ่มขึ้นมากกว่าทะเลถึง ๔ เท่า และยังหมายถึงว่า อุณหภูมิระหว่างแผ่นดินกับพื้นน้ำที่แตกต่างกันมากขึ้นนั้น จะทำให้ลมที่พัดจากทะเลเข้าหาฝั่งอย่างลมมรสุมหรือลมประจำถิ่นอื่นๆ พัดรุนแรงขึ้น พายุหมุนจึงมีโอกาสเกิดได้บ่อยขึ้นด้วย 

IPCC รายงานว่า ภายในสิ้นศตวรรษที่ ๒๑ หรืออีก ๑๐๐ ปีข้างหน้า หากอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังเป็นเช่นนี้อยู่ อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกอาจจะเพิ่มขึ้นถึง ๖ องศาเซลเซียส คือเพิ่มในอัตราเร็วขึ้นถึง ๑๐ เท่าจากปัจจุบัน 

๖. น้ำแข็งละลายมากน้อยเพียงใด 

  
ภาพเปรียบเทียบการละลายของธารน้ำแข็งแห่งหนึ่งในพาตาโกเนีย (Patagonia)
ประเทศอาร์เจนตินา ในปี ค.ศ. ๑๙๒๘ (บน) และ ๒๐๐๔ (ล่าง)

บนพื้นผิวโลก ดูเหมือนว่าการละลายของน้ำแข็งที่บริเวณขั้วโลกได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากที่สุด 

ก่อนอื่นต้องเข้าใจกันก่อนว่า น้ำแข็งที่ปกคลุมผิวโลกนี้แบ่งเป็น ๒ ส่วนใหญ่ๆ คือ น้ำแข็งที่เกิดจากการแข็งตัวของน้ำทะเล (Sea ice) ได้แก่ บริเวณชายขอบของทวีปแอนตาร์กติกาในซีกโลกใต้ที่ยื่นต่อเนื่องไปจากแผ่นน้ำแข็งในทวีป มีพื้นที่ประมาณ ๑๗-๒๐ ล้านตารางกิโลเมตรในฤดูหนาว และลดลงเหลือ ๓-๔ ล้านตารางกิโลเมตรในฤดูร้อน และแผ่นน้ำแข็ง (Ice sheets) ที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติกในขั้วโลกเหนือ มีพื้นที่ประมาณ ๑๔-๑๖ ล้านตารางกิโลเมตรในฤดูหนาว และเมื่อฤดูร้อนมาเยือน น้ำแข็งจะค่อยๆ ละลายลงเหลือพื้นที่ประมาณ ๗-๙ ล้านตารางกิโลเมตร 

อีกประเภทหนึ่งคือ พืดน้ำแข็งที่ปกคลุมผืนแผ่นดิน ซึ่งเกิดจากการทับถมกันของหิมะ อันได้แก่ ทวีปแอนตาร์กติกาในขั้วโลกใต้ ที่เกาะกรีนแลนด์ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ และที่บริเวณธารน้ำแข็งบนยอดเขาสูงๆ รวมพื้นที่ประมาณ ๑๗ ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๐ % ของพื้นที่โลก ในจำนวนนี้อยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา ๑๕ ล้านตารางกิโลเมตร และบนเกาะกรีนแลนด์ ๑.๘ ล้านตารางกิโลเมตร 

ที่น่าสนใจคือพืดน้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปแอนตาร์กติกาหนาถึง ๓,๐๐๐ เมตร ขณะที่แผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติกหนาประมาณ ๓ เมตร 

และคนที่รู้เรื่องความหนาของน้ำแข็งขั้วโลกดีที่สุด หาใช่นักวิทยาศาสตร์ไม่ แต่เป็นกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา 

ในช่วงสงครามเย็นระหว่างสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาเมื่อประมาณ ๔๐ กว่าปีก่อน เรือดำน้ำของสหรัฐฯ ต้องคอยลาดตระเวนใต้มหาสมุทรอาร์กติกเป็นประจำ และหากได้ข่าวว่ากองทัพโซเวียตเป็นฝ่ายโจมตีก่อน เรือดำน้ำเหล่านี้ก็พร้อมจะทะยานทะลุชั้นน้ำแข็งขึ้นมาเพื่อยิงขีปนาวุธตอบโต้ 

การศึกษาและเก็บข้อมูลความหนาของน้ำแข็งจึงถือเป็นความลับของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา 

ในช่วงปลายปี ค.ศ. ๑๙๙๐ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกาที่มักจะไปปฏิบัติการลับในขั้วโลกเหนือ ได้เปิดเผยว่า แผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมขั้วโลกเหนือมีความหนาลดลงถึง ๔๐ % คือจากความหนาโดยเฉลี่ย ๓ เมตรในปี ค.ศ. ๑๙๖๐ ได้ละลายลงเหลือ ๒ เมตร ภายในเวลาเพียง ๓๐ ปี 

  
ภาพเปรียบเทียบขนาดของแผ่นน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก
ภาพซ้ายถ่ายในปี ค.ศ. ๑๙๗๙ ภาพขวาถ่ายในปี ค.ศ. ๒๐๐๕

ศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาได้เปิดเผยการสำรวจขั้วโลกเหนือด้วยดาวเทียมสำรวจขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาหรือนาซา พบว่าน้ำแข็งในบริเวณมหาสมุทรอาร์กติกละลายเร็วขึ้นกว่าเดิม และอุณหภูมิก็สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ดาวเทียมของนาซาได้เก็บข้อมูลตั้งแต่ปี ๒๐๐๒ แสดงให้เห็นว่าฤดูใบไม้ร่วงอันเป็นช่วงน้ำแข็งละลายได้คืบคลานมาเร็วผิดปรกติในแถบไซบีเรียเหนือและอะแลสกา 

เท็ด สคัมโบส (Ted Scambos) จากมหาวิทยาลัยโคโลราโดชี้ว่า การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสัญญาณที่ระบุได้ชัดเจนก็คืออุณหภูมิบริเวณขั้วโลกเหนือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบทศวรรษนี้ 

จากการตรวจวัดด้วยดาวเทียมพบว่า อุณหภูมิของขั้วโลกเหนือสูงขึ้นในอัตรา ๒.๕ องศาเซลเซียสใน ๑๐ ปี ซึ่งสูงกว่าในช่วง ๑๐๐ ปีก่อนหน้านั้นมาก ส่งผลให้ทุกๆ ๑๐ ปี น้ำแข็งขั้วโลกเหนือจะหายไปประมาณ ๙ % 

นักวิทยาศาสตร์ทำนายว่า ในทศวรรษ ๒๐๘๐ บริเวณขั้วโลกเหนือและมหาสมุทรอาร์กติกจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง ๑๐ องศาเซลเซียส ส่งผลให้ในฤดูร้อน น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือจะละลายไปจนหมดสิ้น รอจนอากาศเข้าสู่ความหนาวเย็นจึงจะมีน้ำแข็งมาปกคลุมบริเวณขั้วโลกเหนืออีกครั้ง แต่ก็หายไปถึงครึ่งหนึ่ง 

ขณะที่แบบจำลองด้านภูมิอากาศทำนายว่า หากการละลายของน้ำแข็งยังคงอัตราเช่นนี้ แนวโน้มที่จะไม่มีน้ำแข็งปกคลุมขั้วโลกเหนือในฤดูร้อนอาจจะเกิดขึ้นภายใน ๒๕ ปีข้างหน้า 

ลองมาสำรวจน้ำแข็งบริเวณอื่นกันบ้าง 


ภาพดาวเทียมแสดงการแตกของแผ่นน้ำแข็ง ลาร์เซน-บี
เปรียบเทียบระหว่างวันที่ ๓๑ ม.ค. ๒๐๐๒ (ซ้าย) และ ๕ มี.ค. ๒๐๐๒ (ขวา) 
ที่มา : MODIS Images/NASA’s Terra satellite

ในปี ค.ศ. ๒๐๐๒ มีข่าวดังไปทั่วโลก เมื่อแผ่นน้ำแข็งขนาดมหึมาแผ่นหนึ่งในขั้วโลกใต้ ชื่อ ลาร์เซน-บี (Larsen-B) หนา ๒๐๐ เมตร มีพื้นที่ ๓,๒๕๐ ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ากรุงเทพฯ ๒ เท่า ได้แตกออกจากทวีปแอนตาร์กติกา กลายเป็นภูเขาน้ำแข็งหลายก้อนลอยลงสู่ทะเล และส่วนใหญ่ละลายเป็นน้ำภายในไม่กี่วัน 

นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่า ในรอบ ๓๐ ปีที่ผ่านมา มีก้อนน้ำแข็งแตกจากแผ่นดินลอยลงสู่มหาสมุทรคิดเป็นพื้นที่ถึง ๑๓,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร และในช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิบริเวณขั้วโลกใต้สูงขึ้นราว ๒.๕ องศาเซลเซียส ทำให้น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกใต้มีอัตราการละลายเพิ่มขึ้นเป็น ๑๕๐ ลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี ส่งผลให้น้ำทะเลเพิ่มระดับสูงขึ้น ๐.๔ มิลลิเมตรต่อปี 

นึกออกไหมว่า ๑ ลูกบาศก์กิโลเมตรมีขนาดเท่าไร 

๑ ลูกบาศก์กิโลเมตรมีค่าเท่ากับ ๑ พันล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนภูมิพลรวมกันเท่ากับ ๕ ลูกบาศก์กิโลเมตร ปัจจุบันในแต่ละปีน้ำแข็งขั้วโลกใต้ละลายเป็นน้ำในปริมาณ ๓๐ เท่าของน้ำในเขื่อนทั้งสองรวมกัน 

ขณะเดียวกันที่เกาะกรีนแลนด์ เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีการละลายของน้ำแข็งปีละ ๕๐ ลูกบาศก์กิโลเมตร เป็นการละลายที่เพิ่มขึ้นถึง ๒ เท่าในรอบ ๑๐ ปี และเนื่องจากเกาะกรีนแลนด์อยู่ต่ำกว่าขั้วโลกเหนือ อุณหภูมิจึงสูงกว่า นอกจากนี้มีการคำนวณว่า หากน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ละลายหมด จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นถึง ๗ เมตร 

Science วารสารวิชาการชื่อดังของโลกทำนายว่า ภายในสิ้นศตวรรษนี้ เราอาจจะได้เห็นน้ำทะเลสูงขึ้นถึง ๖ เมตร เพราะความหายนะมักมาเยือนเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้มาก และหากน้ำแข็งขั้วโลกละลายจนหมดสิ้น ประมาณว่าจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นราวๆ ๑๐๐ เมตร 

ล่าสุดในที่ประชุมของ IPCC เมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๗ ได้ทำนายว่า ในศตวรรษที่ ๒๑ อุณหภูมิจะสูงขึ้นประมาณ ๑.๑-๖.๔ องศาเซลเซียส มีผลทำให้น้ำแข็งขั้วโลกเหนือจะละลายหมดในฤดูร้อน ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเกือบ ๖๐ เซนติเมตร น้ำทะเลจะคุกคามบริเวณชายฝั่งทั่วโลก ประชาชนในทวีปเอเชียเกือบ ๑๐๐ ล้านคนจะประสบปัญหาน้ำท่วมไร้ที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังกลาเทศ พม่า ไทย เวียดนาม ไปจนถึงจีนและญี่ปุ่น 

๗. จริงหรือไม่ที่น้ำแข็งละลายมากขึ้นเท่าใด น้ำทะเลยิ่งมีอุณหภูมิสูงขึ้น 

      

ไม่ค่อยมีคนรู้ว่าพื้นผิวของน้ำแข็งขั้วโลกทำหน้าที่สะท้อนรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์กลับสู่ชั้นบรรยากาศได้ถึงร้อยละ ๙๐ ขณะที่น้ำในมหาสมุทรกลับดูดเอาความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้ถึงร้อยละ ๙๐ เช่นกัน พูดง่ายๆ ก็คือ ยิ่งโลกมีพื้นผิวน้ำแข็งน้อยลงเท่าใด โลกก็ร้อนมากขึ้นเท่านั้น 

สาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายเร็ว เพราะเป็นเพียงแผ่นน้ำแข็งที่ลอยอยู่เหนือมหาสมุทรอาร์กติก เมื่อพื้นที่น้ำแข็งลดลง การสะท้อนความร้อนสู่ชั้นบรรยากาศก็ลดลง ขณะที่น้ำทะเลกลับดูดซับความร้อนส่วนใหญ่เอาไว้ เมื่อน้ำทะเลอุ่น น้ำแข็งก็ยิ่งละลายเร็วขึ้น และเมื่อน้ำแข็งละลายมากขึ้น น้ำทะเลก็ยิ่งมีอุณหภูมิสูงขึ้นเช่นกัน 

๘. น้ำแข็งเป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำจืดที่เราใช้จริงหรือ 

 คำตอบก็คือ ร้อยละ ๗๕ ของแหล่งน้ำจืดที่เราใช้สะสมอยู่ในรูปของน้ำแข็ง 

เหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น 

เพราะว่าธารน้ำแข็งบนยอดเขาหลายแห่งทั่วโลกเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญหลายสาย 

ดังที่ ดร. อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กล่าวไว้ว่า น้ำแข็งมีความสำคัญกับระบบนิเวศวิทยาอย่างมาก โดยทำหน้าที่คล้าย “ป่า” ในเขตหนาว 

หากว่าป่าเปรียบเสมือนฟองน้ำที่คอยอุ้มน้ำ แล้วค่อยๆ ปล่อยน้ำออกมา “น้ำแข็ง” ก็เป็นเสมือนฟองน้ำที่ชะลอการไหลบ่าของกระแสน้ำด้วยความเย็นจนกลายเป็นน้ำแข็ง และเมื่อถึงฤดูร้อน น้ำแข็งก็ละลายเป็นน้ำไหลไปรวมเป็นลำธารและแม่น้ำสายต่างๆ หล่อเลี้ยงผู้คนทั่วโลก 

ขนาดของธารน้ำแข็งจะมีการขยายและหดตัวตามฤดูเป็นวัฏจักรธรรมชาติ โดยปรกติธารน้ำแข็งบนภูเขาจะละลายลงในฤดูร้อนในอัตราที่สมดุลกับการเกิดทดแทนของหิมะในฤดูหนาว ปริมาณน้ำที่ไหลลงมาตามแม่น้ำจึงขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำแข็งที่มีการสะสมไว้ในฤดูหนาว ดังนั้นการที่น้ำต้นทุนบนยอดเขาจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ขึ้นกับว่าหิมะที่ตกในฤดูหนาวมีสะสมมากหรือน้อย หากในอนาคต ฤดูหนาวมีระยะสั้นลง หิมะก็อาจจะตกน้อยลง น้ำแข็งที่สะสมบนยอดเขาก็น้อยลงไปด้วย ส่งผลให้น้ำที่จะไหลลงสู่แม่น้ำน้อยลงไปตามกัน 

น้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญ ๘ สาย ได้แก่ แม่น้ำโขง แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำแยงซี และแม่น้ำเหลือง แหล่งน้ำจืดสำคัญที่หล่อเลี้ยงประชากรกว่า ๒,๐๐๐ ล้านคนในทวีปเอเชีย 

ประมาณกันว่ามีน้ำจืดกักเก็บอยู่บนเทือกเขาหิมาลัยในรูปของน้ำแข็ง ๑๒,๐๐๐ ลบ. กม. แต่ทุกวันนี้ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยมีการละลายอย่างรวดเร็ว เช่นธารน้ำแข็งแห่งหนึ่งบนเทือกเขาหิมาลัย ชื่อ Gangotri นักวิทยาศาสตร์พบว่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๘๔๒-๑๙๓๕ ธารน้ำแข็งนี้ได้ละลายหายไปหรือหดสั้นลงเฉลี่ยปีละ ๗.๓ เมตร ทว่าตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๘๕-๒๐๐๑ ธารน้ำแข็งนี้ได้ละลายหายไปเฉลี่ยถึงปีละ ๒๓ เมตร 

หากอัตราการละลายยังเป็นเช่นนี้อยู่ คาดกันว่าในอีก ๓๐ ปีข้างหน้า ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยที่มีอยู่ ๑๕,๐๐๐ กว่าแห่งจะละลายเกือบหมด 

เช่นเดียวกับธารน้ำแข็งบนยอดเขาคิริมันจาโรได้ลดลงอย่างรวดเร็ว และกำลังส่งผลกระทบต่อระดับน้ำในแม่น้ำไนล์ แม่น้ำสายสำคัญที่สุดของชาวแอฟริกัน 

ทุกวันนี้เป็นที่ยอมรับว่า ธารน้ำแข็งถาวรบนยอดเขาเกือบทุกแห่งทั่วโลก เช่นบนยอดเขาหิมาลัย ยอดเขาแอนดีส ยอดเขาคิริมันจาโร แม้แต่บนยอดเขาที่ปาปัวนิวกินี มีขนาดลดลงอย่างชัดเจนมากเมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายในช่วงเวลาเดียวกันที่เคยมีผู้ถ่ายไว้เมื่อหลายสิบปีก่อน ปรากฏการณ์นี้เป็นหลักฐานสำคัญที่ช่วยยืนยันว่าอุณหภูมิของโลกน่าจะสูงขึ้นจริง 

และยังเป็นสัญญาณบอกว่า ภายใน ๕๐ ปีข้างหน้า ประชากรทั่วโลกจะเผชิญปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดอย่างรุนแรง ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย 

๙. ภาวะโลกร้อนก่อให้เกิดผลกระทบที่สำคัญอะไรบ้าง 


ภาพถ่ายพายุเฮอริเคนแคทรีนา (Catarina) ที่พัดเข้าสู่ชายฝั่งประเทศบราซิล
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๒๐๐๔ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีรายงานว่า
เกิดพายุเฮอริเคนในตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก

นอกจากปัญหาการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกที่ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นแล้ว ภาวะโลกร้อนยังเป็นสาเหตุให้บางพื้นที่เกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำและทะเลสาบหลายแห่งทั่วโลกลดลง เกิดความอดอยาก เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำลง 

จากการศึกษาของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติพบว่า ผลผลิตข้าวจะลดลงร้อยละ ๑๕ เมื่ออากาศร้อนขึ้น ๑ องศาเซลเซียส 

ในทวีปแอฟริกา นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าภายในสิ้นศตวรรษนี้ น้ำในแม่น้ำต่างๆ จะมีปริมาณลดลงร้อยละ ๒๕ อันจะส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรและการประมง ผู้คนกว่า ๒๐ ล้านคนจะไม่มีอาหารพอเลี้ยงชีพ สัตว์ป่าหลายชนิดจะขาดแคลนแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และอาจส่งผลให้สัตว์ป่าในแอฟริกาตั้งแต่นกไปจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต้องสูญพันธุ์ 

ความแห้งแล้งยังก่อให้เกิดไฟไหม้ป่าอย่างรุนแรงทั่วโลก ตั้งแต่ป่าในสหรัฐอเมริกา ป่าแอมะซอนในบราซิล ไปจนถึงป่าในออสเตรเลีย ในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมาเกิดไฟไหม้ป่าฝนเขตร้อนในประเทศอินโดนีเซียรุนแรงขึ้นทุกปี พื้นที่ป่าเสียหายถึง ๑๒ ล้าน ๕ แสนไร่ ขณะที่ฤดูร้อนปี ค.ศ. ๒๐๐๓ คลื่นความร้อนอย่างรุนแรงได้แผ่กระจายไปทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรป ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง ๓๕,๐๐๐ คน 

ภาวะโลกร้อนยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพายุหมุนในทะเลถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพายุเฮอริเคน ไซโคลน และพายุไต้ฝุ่น ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก เมืองที่อยู่ตามชายฝั่งจะได้รับผลกระทบจากความรุนแรงของพายุบ่อยครั้ง ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๒๐๐๕ พายุเฮอริเคนแคทรีนา (Katrina) ได้พัดถล่มเมืองนิวออร์ลีนส์ในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างย่อยยับ มีผู้เสียชีวิตนับพันคน และในปีก่อนหน้านั้น พายุไต้ฝุ่นถึง ๑๐ ลูกได้พัดถล่มเกาะญี่ปุ่นมากเป็นประวัติการณ์ จากที่เคยทำสถิติปีละ ๗ ลูก เช่นเดียวกับพายุไซโคลนที่พัดถล่มประเทศออสเตรเลียอย่างรุนแรง ไม่แพ้ประเทศในแถบทะเลจีนใต้ที่มีพายุไต้ฝุ่นพัดเข้าถล่มเกือบ ๒๐ ลูกในช่วงปีที่ผ่านมา จากเดิมที่มีเฉลี่ยปีละ ๑๐ ลูก 

ภาวะโลกร้อนยังทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ตั้งแต่ประเทศจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม ไทย พม่า บังกลาเทศ จนถึงอินเดีย เช่นที่เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ในเดือนกรกฎาคม ๒๐๐๕ วัดปริมาณน้ำฝนได้ถึงระดับ ๓๗ นิ้วภายใน ๒๔ ชั่วโมง 


ภาพถ่ายพายุเฮอริเคนแคทรีนา (Catarina) ที่พัดเข้าสู่ชายฝั่งประเทศบราซิล
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๒๐๐๔ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีรายงานว่า
เกิดพายุเฮอริเคนในตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก

ผลกระทบสำคัญอีกประการคือ การระบาดของเชื้อโรคชนิดต่างๆ เนื่องจากแมลงหลายชนิดที่เป็นพาหะสำคัญของเชื้อโรคมีการกระจายพันธุ์ได้ดีขึ้น อาทิ อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้วงจรชีวิตของยุงมีระยะสั้นลง และยุงยังสามารถอพยพไปอยู่ในที่ที่เคยมีอากาศเย็นได้ ภูเขาหลายแห่งและพื้นที่ที่ไม่เคยมียุงมาก่อนกลับพบว่ามียุงแพร่กระจายเข้าไป ส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคมาลาเรียอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์พบว่า ทุกวันนี้มีผู้ได้รับเชื้อมาลาเรียประมาณ ๕๐๐ ล้านคน เพิ่มขึ้นถึง ๔ เท่านับจากเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๙๐ โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา ขณะที่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นถึงปีละ ๑๕ ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นเด็ก และมีการคำนวณว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ๑ องศาเซลเซียส จะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้เลือดออกเพิ่มสูงถึงร้อยละ ๔๗ นอกจากนั้นยังมีรายงานว่าพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นครั้งแรกในเทือกเขาแอนดีส ประเทศชิลี ยังไม่นับรวมการระบาดของโรคอีกหลายชนิด อาทิ ไข้อหิวาต์ ไข้สมองอักเสบ ฯลฯ และการแพร่กระจายของแมลงศัตรูพืชที่เป็นต้นเหตุของการทำลายพืชผลการเกษตรทั่วโลก 

องค์การอนามัยโลกประมาณว่า ในแต่ละปีประชากร ๑๖๐,๐๐๐ คนป่วยตายจากโรคที่มีผลมาจากภาวะโลกร้อน 

อุตสาหกรรมประกันภัยก็ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ความเสียหายจากภัยพิบัติอันเป็นผลจากภาวะโลกร้อน ไม่ว่าจะเป็นพายุ น้ำท่วม ความแห้งแล้ง การกัดเซาะชายฝั่ง สูงถึง ๑๕ เท่า บริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษได้คำนวณว่า ในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ ความเสียหายจากภาวะโลกร้อนจะมีมูลค่าสูงถึง ๓ แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และสำหรับประเทศในแถบทวีปเอเชีย อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นตัวทำรายได้สำคัญของประเทศจะได้รับความเสียหายมากที่สุด 


ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงการใช้พลังงานในยามค่ำคืนของโลก สีขาวคือ ไฟฟ้าตามเมืองใหญ่ 
สีแดงคือ การจุดไฟป่า (บางส่วนในทวีปแอฟริกาคือการเผาฟืนเพื่อหุงต้มอาหาร) 
สีน้ำเงินคือ กองเรือประมงที่ออกจับปลา สีเหลืองคือ แหล่งขุดเจาะน้ำมัน 
ที่มา : U.S. Defense Department satellite

๑๐. พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) สำคัญอย่างไร 

ที่ประชุมใหญ่ของสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ได้มีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์ และการรักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย จึงเป็นที่มาของอนุสัญญาพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ในปี ค.ศ. ๑๙๙๗ ที่ประเทศสมาชิกได้ร่วมลงนามทั้งสิ้น ๑๘๖ ประเทศ โดยประเทศในภาคีภายใต้อนุสัญญาฯ แบ่งเป็น 

Annex I : กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศพัฒนาแล้ว ๔๑ ประเทศ 

Non-Annex I : กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ๑๔๕ ประเทศ (รวมประเทศไทยด้วย) 

พิธีสารนี้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๒๐๐๕ โดยกลุ่มประเทศ Annex I จะต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้อยู่ในระดับต่ำกว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี ๑๙๙๐ โดยเฉลี่ยร้อยละ ๕ เป็นอย่างน้อย ให้ได้ภายในปี ๒๐๑๒ และต้องลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ถึงร้อยละ ๗๕ ภายในปี ๒๐๕๐ 

แต่สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ของโลก ได้ปฏิเสธการลงนาม โดยรัฐบาลของนายจอร์จ ดับเบิลยู บุช อ้างว่าจะทำให้ชาวอเมริกันได้รับความเดือดร้อน แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าตระกูลของประธานาธิบดีคนนี้ประกอบธุรกิจน้ำมัน จึงจำเป็นต้องปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันของสหรัฐอเมริกาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก 

๑๐ วิธีในการช่วยลดภาวะโลกร้อน
๑. ต้องยอมรับก่อนว่า สาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนมิได้มาจากประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศพัฒนาแล้วเป็นหลัก แต่เราทุกคนบนพื้นผิวโลก รวมทั้งคนไทยด้วย ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของต้นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน เพราะการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไฟฟ้า การเดินทาง การขนส่ง การบริโภค การสร้างที่พักอาศัย การซื้อของ ล้วนมีส่วนสำคัญในการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ 

๒. ประหยัดการใช้พลังงานทุกชนิด โดยเฉพาะไฟฟ้า เพราะเชื้อเพลิงสำคัญในการผลิตไฟฟ้า คือ น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ล้วนแต่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ก่อภาวะเรือนกระจกทั้งสิ้น เลือกอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า เช่นเปลี่ยนมาใช้หลอดประหยัดพลังงาน เพราะหลอดไฟที่ใช้กันอยู่ทั่วไปเปลี่ยนพลังงานเพียงร้อยละ ๑๐ เท่านั้นให้เป็นแสงสว่าง ส่วนพลังงานอีกร้อยละ ๙๐ สูญเสียไปในรูปของความร้อน และถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน 

๓. หลีกเลี่ยงการใช้รถยนต์ส่วนตัว เพื่อเป็นการประหยัดการใช้น้ำมัน ถ้าไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงการโดยสารเครื่องบิน ดังที่รายงานของสถาบันสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศแนะนำว่า ควรใช้บริการรถไฟสำหรับการเดินทางในระยะทางไม่เกิน ๖๔๐ กิโลเมตร ซึ่งจะช่วยลดจำนวนเที่ยวบินลงได้ถึงร้อยละ ๔๕ และบรรดานักธุรกิจควรใช้ระบบการประชุมผ่านวิดีโอแทนการให้พนักงานขึ้นเครื่องบินไปร่วมการประชุม 

๔. คิดก่อนจะซื้อสิ่งของ เพราะการผลิตและการขนส่งสินค้าเกือบทุกชนิดล้วนแต่ใช้พลังงานทั้งสิ้น ก่อนจะซื้ออะไรลองถามตัวเองว่าสิ่งนั้นจำเป็นเพียงใด หรือลองเปลี่ยนจากการซื้อของใหม่เป็นการซ่อมหรือใช้ของมือสองแทน 

๕. ลดการกินทิ้งกินขว้าง เพราะเศษอาหารและของที่บูดเน่าเมื่อไปทับถมอยู่ที่กองขยะจะกลายเป็นแหล่งผลิตก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง 

๖. บริโภคของที่ผลิตในประเทศ เพราะการซื้อสินค้าจากต่างประเทศย่อมต้องสิ้นเปลืองพลังงานในการขนส่ง การกินอาหารท้องถิ่นจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่า เช่นหันมากินปลาทูแทนปลาแซลมอน เพราะนอกจากราคาถูกและทำให้เงินทองไม่รั่วไหลออกนอกประเทศแล้ว ยังช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย 

๗. พกขวดน้ำติดตัวไปด้วยระหว่างการเดินทาง ขวดน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิตมหาศาล แถมยังทำให้เกิดขยะล้นโลก และในการกำจัดขยะก็ต้องใช้พลังงานอีกต่างหาก 

๘. หลีกเลี่ยงการใช้ถุงพลาสติก เพราะการผลิตถุงพลาสติกใช้พลังงานอย่างมหาศาล ถ้าให้ดีนำถุงผ้าจากบ้านติดตัวไปด้วยเวลาซื้อของตามร้านค้า หากไม่จำเป็นควรบอกพนักงานขายว่าไม่เอาถุงพลาสติก เพราะเมื่อนำกลับบ้านแล้วคนส่วนใหญ่จะทิ้งลงถังขยะ ในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ถุงพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ถึงปีละ ๑ แสนล้านใบ 

๙. ประหยัดการใช้กระดาษ อุตสาหกรรมการผลิตกระดาษใช้พลังงานมากเป็นอันดับ ๔ ทั้งยังก่อมลพิษทางน้ำ เป็นต้นเหตุของการทำลายป่าไม้ซึ่งเป็นตัวดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญด้วย 

๑๐. สนับสนุนการซื้อสินค้าจากบริษัทผู้ผลิตที่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม หรือลงทุนซื้อหุ้นในบริษัทที่มีส่วนในการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ผลิตที่อยากมีส่วนในการปกป้องโลก และเลิกสนับสนุนสินค้าของบริษัทที่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม