วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

ติว GAT(eng) ให้เต็ม by ครูพี่แนน



ที่มา :  http://youtu.be/LKQDkuHRBIw
           http://youtu.be/dFCKFBya2MQ
           http://youtu.be/mfPQJNgYbKM

ติวภาษาไทย


ที่มา : http://youtu.be/1xZudg1Inn4

ข้อสอบONET ปี 2554 วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องโลกและดาราศาสตร์



ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=w-VuNOx3oSg

ข้อสอบพร้อมเฉลย วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเซต

14 f (30 10 f 10 4 f 20"> Sets Key Part 001 Sets Key Part 002 ที่มา : http://nic-vonline.blogspot.com/2009/10/httpwww.html

ใบงานที่11 เรื่อง กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ



ใบงานที่ 11 เรื่อง กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
--------------------------------------------------------------

1. การสำรวจสภาพน้ำที่คูเมือง
        ขั้นที่ 1   เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในสำรวจ ได้แก่ 1. ชุดทดสอบ ว.111 ของกรมอนามัย
2. Secchi Disc 3. เทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะ 4. กระดาษลิตมัส (วิธีเปรียบเทียบสี)
5. Electrical Conductivity 6.Hydrometer 7.ชุดทดสอบออกซิเจนละลาย (ว.312)ของกรมอนามัย
8. ชุดทดสอบ (Test Kits)
        ขั้นที่ 2   เดินทางไปที่คูเมือง ตำแหน่งที่ 1 ด้านทิศเหนือด้วยรถจักรยานยนต์พร้อมเครื่องมือสำรวจ
        ขั้นที่ 3   เริ่มทำการสำรวจ ใช้ชุดชุดทดสอบ ว.111 ของกรมอนามัยทดสอบแบคทีเรีย
ใช้ Secchi Disc ทดสอบความขุ่นความโปร่งแสง ใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะวัดอุณหภูมิ ใช้กระดาษลิตมัส (วิธีเปรียบเทียบสี) ทดสอบความเป็นกรดด่าง ใช้ Electrical Conductivityทดสอบความนำไฟฟ้า และสารละลายได้ทั้งหมด ใช้Hydrometer ทดสอบความเค็ม ชุดทดสอบออกซิเจนละลาย (ว.312)ของกรมอนามัยทดสอบออกซิเจนละลาย ใช้ชุดทดสอบ (Test Kits)อื่นๆ เพื่อทดสอบอื่นๆ

2. การทำร่มกระดาษสาที่บ่อสร้าง
        ขั้นที่ 1   วางแผนการ ค้นหาสถานที่ ที่ต้องการจะไป เช่น ร้านทำร่มร้านใด และติดต่อไปยังร้านที่ต้องการ
        ขั้นที่ 2   เดินทางไปยังแหล่งผลิตที่ได้ติดต่อไว้ เพื่อไปเก็บข้อมูล
        ขั้นที่ 3   นำข้อมูลมาจัดเรียงและสรุปผล

3. การทอดไข่เจียว
        ขั้นที่ 1   จัดเตรียมของและอุปกรณ์ ได้แก่ กระทะ จาน ตะหลิว ถ้วย น้ำมันพืช ไข่ไก่
        ขั้นที่ 2   ตอกไข่ใส่ถ้วย ทำการตีไข่
        ขั้นที่ 3   ตั้งน้ำมันให้เดือดพอประมาณ เมื่อน้ำมันเริ่มเดือด ให้ใส่ไข่ลงไป
        ขั้นที่ 4   เมื่อไข่เริ่มสุก ให้พลิกด้านไข่
        ขั้นที่ 5   พลิกกลับไปมาจนไข่สุกทั้งสองด้าน
        ขั้นที่ 6   เมื่อสุกจนได้ที่แล้ว นำใส่จานที่เตรียมไว้




ผู้จัดทำ
นางสาวสวรรยา  ฟักจันทร์  เลขที่  23
นางสาวอภิญญา  นันตาเครือ  เลขที่ 30
มัธยมศึกษาปีที่ 6/10

ใบงานที่9 เรื่อง ปัญหาและความจำเป็นในการทำโครงงาน



ใบงานที่ 9 เรื่อง ปัญหาและความจำเป็นในการทำโครงงาน
-----------------------------------------------------------------------------
ให้นักเรียนคิดหาคำตอบว่า เราทำสิ่งต่อไปนี้เพื่อแก้ปัญหาอะไร ? ได้ประโยชน์อย่างไร ?

กิจกรรมต่อไปนี้ปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาอะไร ? ได้ประโยชน์อย่างไร ?
1. ไปเที่ยวศูนย์การค้า เพื่อแก้ปัญหา     การเกิดความเครียด ต้องการพักผ่อน และซื้อเครื่องใช้ประจำตัว
                         ได้ประโยชน์ คือ เพื่อขจัดความเครียด ได้พักผ่อนและได้เครื่องใช้ประจำตัว

2. ทำความสะอาดบ้าน เพื่อแก้ปัญหา    บ้านที่สกปรก
                         ได้ประโยชน์ คือ บ้านสะอาดขึ้น ทำให้เป็นคนที่รักษาความสะอาด

3. ดูทีวี                 เพื่อแก้ปัญหา     การเกิดความเครียด ต้องการพักผ่อน ขาดข่าวสาร
                         ได้ประโยชน์ คือ คลายความเครียด ได้รับประโยชน์จากรับข่าวสาร

4. ซื้อจักรยานยนต์     เพื่อแก้ปัญหา     การเดินทางที่ลำบาก
                         ได้ประโยชน์ คือ สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น

5. ทำนา                เพื่อแก้ปัญหา     ขาดแคลนข้าว
                         ได้ประโยชน์ คือ มีข้าวสำหรับขาย และ บริโภค

6. มาเรียนหนังสือ      เพื่อแก้ปัญหา     ไม่มีความรู้
                         ได้ประโยชน์ คือ ได้รับความรู้ และได้สังคมเพื่อน

7. ตั้งใจเรียน  เพื่อแก้ปัญหา     เรียนไม่รู้เรื่อง ทำข้อสอบไม่ได้
                         ได้ประโยชน์ คือ สามารถเข้าใจในบทเรียนได้ดี และ ทำข้อสอบได้

8. เรียนภาษาอังกฤษ เพื่อแก้ปัญหา      เราไม่ทราบภาษาอังกฤษ
                         ได้ประโยชน์ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษได้

9. เรียนคอมพิวเตอร์  เพื่อแก้ปัญหา      ความไม่เท่าทันในเทคโนโลยี และการใช้โปรแกรมไม่ได้
                         ได้ประโยชน์ คือ สามารถตามเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม และ สอบได่

10. สมัครงาน เพื่อแก้ปัญหา     การว่างงาน
                         ได้ประโยชน์ คือ ได้รับงานมาทำเพื่อเลี้ยงชีพ



ผู้จัดทำ
นางสาวสวรรยา  ฟักจันทร์  เลขที่  23
นางสาวอภิญญา  นันตาเครือ  เลขที่ 30
มัธยมศึกษาปีที่ 6/10


ใบงานที่7 เรื่อง โครงงานประเภท “การประยุกต์ใช้งาน”



ใบงานที่ 7 เรื่อง โครงงานประเภท การประยุกต์ใช้งาน
การประยุกต์ใช้งาน

โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน เป็น โครงงานประยุกต์ใช้งานเป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการ สร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งภายในอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี และซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ ซึ่งอาจเป็นการคิดสร้างสิ่งของขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้นๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับ ปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้ผู้เรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่าง
1. คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการออกแบบ
          คอมพิวเตอร์กราฟิกได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบมาเป็นเวลานาน เราคงจะเคยได้ยินคำว่า CAD (Computer - Aided Design) ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับช่วยในการออกแบบทางวิศวกรรม โปรแกรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ออกแบบหรือวิศวกรออกแบบงานต่างๆ ได้สะดวกขึ้น กล่าวคือ ผู้ออกแบบสามารถเขียนเป็นแบบลายเส้นแล้วลงสี แสงเงา เพื่อให้ดูคล้ายกับของจริงได้ นอกจากนี้แล้วเมื่อผู้ออกแบบกำหนดขนาดของวัตถุลงในระบบ CAD แล้ว ผู้ออกแบบยังสามารถย่อหรือขยายภาพนั้น หรือต้องการหมุนภาพไปในมุมต่างๆ ได้ด้วย การแก้ไขแบบก็ทำได้ง่ายและสะดวกกว่าการออกแบบบนกระดาษ
          ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการออกแบบวงจรต่างๆ ผู้ออกแบบสามารถวาดวงจรบนจอภาพโดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ระบบจัดเตรียมไว้ให้แล้วมาประกอบกันเป็นวงจรที่ต้องการ ผู้ออกแบบสามารถแก้ไข ตัดต่อ เพิ่มเติมวงจรได้โดยสะดวก นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมสำหรับออกแบบ PCB (Printed Circuit Board) ซึ่งมีความสามารถจัดการให้แผ่นปรินต์มีขนาดที่จะวางอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เหมาะสมที่สุด
          การออกแบบพาหนะต่างๆ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน หรือเครื่องจักรต่างๆ ในปัจจุบันก็ใช้ระบบ CAD นักออกแบบสามารถจะออกแบบส่วนย่อยๆ แต่ละส่วนก่อน แล้วนำมาประกอบกันเป็นส่วนใหญ่ขึ้นจนเป็นเครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ต้องการได้ นอกจากนี้ในบางระบบยังสามารถที่จะทดสอบแบบจำลองที่ออกแบบไว้ได้ด้วย เช่น อาจจะออกแบบรถยนต์แล้วนำโครงสร้างของรถที่ออกแบบนั้นมาจำลองการวิ่ง โดยให้วิ่งที่ความเร็วต่างๆ กันแล้วตรวจดูผลที่ได้ ซึ่งการทดลองแบบนี้สามารถทำได้ในระบบคอมพิวเตอร์และจะประหยัดกว่าการสร้างรถจริงๆ แล้วนำออกมาศึกษาทดสอบการวิ่ง
          การออกแบบโครงสร้าง เช่น ตึก บ้าน สะพาน หรือโครงสร้างใดๆ ทางวิศวกรรมโยธาและสถาปัตยกรรม ก็สามารถทำได้โดยใช้ CAD ช่วยในการออกแบบ หลังจากสถาปนิกออกแบบโครงสร้างในแบบ 2 มิติเสร็จแล้ว ระบบ CAD สามารถจัดการให้เป็นภาพ 3 มิติ และยังสามารถแสดงภาพที่มุมมองต่างๆ กันได้ตามที่ผู้ออกแบบต้องการ นอกจากนี้ในบางระบบสามารถแสดงภาพให้ปรากฏต่อผู้ออกแบบราวกับว่าผู้ออกแบบสามารถเดินเข้าไปภายในอาคารที่ออกแบบได้ด้วย
2. กราฟและแผนภาพ
          คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการแสดงภาพกราฟและแผนภาพของข้อมูลได้เป็นอย่างดี โปรแกรมทางกราฟิกทั่วไปในท้องตลาดจะเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพกราฟและแผนภาพ โปรแกรมเหล่านี้ยังสามารถสร้างกราฟได้หลายแบบ เช่น กราฟเส้น กราฟแท่ง และกราฟวงกลม นอกจากนี้ยังสามารถแสดงภาพกราฟได้ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ทำให้ภาพกราฟที่ได้ดูดีและน่าสนใจ กราฟและแผนภาพทางธุรกิจ เช่น กราฟหรือแผนภาพแสดงการเงิน สถิติ และข้อมูลทางเศรษฐกิจ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารหรือผู้จัดการกิจการมาก เนื่องจากสามารถทำความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเดิม ในงานวิจัยต่างๆ เช่น การศึกษาทางฟิสิกส์ กราฟและแผนภาพมีส่วนช่วยให้นักวิจัยทำความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายขึ้นเมื่อข้อมูลที่ต้องวิเคราะห์มีจำนวนมาก
ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ หรือ GIS (Geographical Information System) ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการแสดงข้อมูลในทำนองเดียวกับกราฟและแผนภาพ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกเก็บลงในระบบคอมพิวเตอร์ แล้วให้ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกจัดการแสดงข้อมูลเหล่านั้นออกมาทางจอภาพในรูปของแผนที่ทางภูมิศาสตร์
3. ภาพศิลป์โดยคอมพิวเตอร์กราฟิก
          การวาดภาพในปัจจุบันนี้ใครๆ ก็สามารถวาดได้แล้วโดยไม่ต้องใช้พู่กันกับจานสี แต่จะใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกแทน ภาพที่วาดในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกนี้เราสามารถกำหนดสี แสงเงา รูปแบบลายเส้นที่ต้องการได้โดยง่าย ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์หลายชิ้นก็เป็นงานจากการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพก็คือ เราสามารถแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ต้องการได้ง่าย นอกจากนี้เรายังสามารถนำภาพต่างๆ เก็บในระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) แล้วนำภาพเหล่านั้นมาแก้ไข
4. ภาพเคลื่อนไหวโดยใช้คอมพิวเตอร์
          ภาพยนตร์การ์ตูนและภาพยนต์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์หรือภาพยนตร์ที่ใช้เทคนิคพิเศษต่างๆ ในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาช่วยในการออกแบบและสร้างภาพเคลื่อนไหว (Computer Animation) มากขึ้น เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และง่ายกว่าวิธีอื่นๆ นอกจากนี้ภาพที่ได้ยังดูสมจริงมากขึ้น เช่น ภาพยานอวกาศที่ปรากฏในภาพยนตร์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์ เป็นต้น การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกช่วยให้ภาพที่อยู่ในจินตนาการของมนุษย์สามารถนำออกมาทำให้ปรากฏเป็นจริงได้ ภาพเคลื่อนไหวมีประโยชน์มากทั้งในระบบการศึกษา การอบรม การวิจัย และการจำลองการทำงาน เช่น จำลองการขับรถ การขับเครื่องบิน เป็นต้น เกมส์คอมพิวเตอร์หรือวิดีโอเกมส์ก็ใช้หลักการทำภาพเคลื่อนไหนในคอมพิวเตอร์กราฟิกเช่นกัน
5. อิเมจโปรเซสซิงก์
          คำว่าอิเมจโปรเซสซิงก์ (Image Processing) หมายถึง การแสดงภาพที่เกิดจากการถ่ายรูปหรือจากการสแกนภาพให้ปรากฏบนจอภาพคอมพิวเตอร์ วิธีการทางอิเมจโปรเซสซิงก์จะต่างกับวิธีการของคอมพิวเตอร์กราฟิก กล่าวคือ ในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ตัวคอมพิวเตอร์เองจะเป็นตัวที่สร้างภาพ แต่เทคนิกทางอิเมจโปรเซสซิงก์นั้นใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการจัดรูปแบบของสีและแสงเงาที่มีอยู่แล้วในภาพให้เป็นข้อมูลทางดิจิตอล แล้วอาจจะมีวิธีการทำให้ภาพที่รับเข้ามานั้นมีความชัดเจนมากขึ้นก่อน จากนั้นก็จัดการกับข้อมูลดิจิตอลนี้ให้เป็นภาพส่งออกไปที่จอภาพของคอมพิวเตอร์อีกที วิธีการนี้มีประโยชน์ในการแสดงภาพของวัตถุที่เราไม่สามารถจะเห็นได้โดยตรง เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพจากทีวีสแกนของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เป็นต้น



ผู้จัดทำ
นางสาวสวรรยา  ฟักจันทร์  เลขที่  23
นางสาวอภิญญา  นันตาเครือ  เลขที่ 30
มัธยมศึกษาปีที่ 6/10

ใบงานที่5 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาเครื่องมือ”



ใบงานที่ 5 เรื่อง โครงงานประเภท การพัฒนาเครื่องมือ

เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการที่เป็นระบบเพื่อให้ได้ข้อมูล หรือพฤติกรรมที่เราต้องการค้นพบ  โดยใช้ระบบจำนวนมาช่วยในการแปลความหมายของข้อมูลที่เก็บมาได้จากสิ่งที่ถูกวัด  ข้อมูลที่เก็บมาได้ถือเป็นการวัดผล
    ส่วนการประเมิน เป็นกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลแล้วนำมาเทียบกับเกณฑ์เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ    การจะสรุปผลการประเมินได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม จะต้องได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพ
    ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
        1. กำหนดสิ่งที่ต้องการวัด
        2. นิยามสิ่งที่ต้องการวัด
        3. เลือกชนิดของเครื่องมือ
        4. สร้าง
        5. ทบทวน
        6. ตรวจสอบคุณภาพ
        7. ทดลอง/ปรับปรุง
        8. ทำฉบับจริง/จัดทำคู่มือ

    การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
        การตรวจสอบสำหรับเครื่องมือทั่ว ๆ ไป จะมีการตรวจสอบในสองลักษณะคือ ตรวจสอบรายข้อ(ความยาก, อำนาจจำแนก) และตรวจสอบทั้งฉบับ(ความตรง, ความเที่ยง)

        ความยาก (สัดส่วนของผู้ที่ตอบถูกกับผู้ตอบทั้งหมด)
            -แบบอิงกลุ่ม ใช้เทคนิค 27% (แบ่งกลุ่มสูง กลุ่มต่ำ หาจำนวนคนตอบถูกในแต่ละกลุ่ม นำมารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนคนทั้งสองกลุ่มรวมกัน)
            
-แบบอิงเกณฑ์ แบ่งคนรู้/ไม่รู้โดยใช้คะแนนจุดตัดถาวร(แล้วหาว่าได้กลุ่มละกี่คน นำจำนวนคนที่ตอบถูกหารด้วยจำนวนทั้งหมดในกลุ่ม(ทำทั้งสองกลุ่ม) ได้เท่าไร นำทั้งสองกลุ่มมารวมกันแล้วหารด้วย 2)

        อำนาจจำแนก (ความสัมพันธ์ของความสามารถของผู้ตอบกับการตอบถูก)
            -แบบอิงกลุ่ม
                    -ใช้เทคนิค 27% (เหมือนหาความยากแบบอิงกลุ่มแต่นำจำนวนคนในกลุ่มสูงลบด้วยคนในกลุ่มต่ำแล้วหารด้วยจำนวนคนในกลุ่มสูง(หรือจำนวนคนทั้งสองกลุ่มหารด้วย2)
           
-แบบอิงเกณฑ์
                    -แบ่งกลุ่มรอบรู้/ไม่รอบรู้เหมือนหาความยากแบบอิงเกณฑ์ ได้เท่าไรนำผลในกลุ่มรอบรู้ตั้ง ลบด้วยผลในกลุ่มไม่รอบรู้
           
-กรณีไม่ใช่แบบวัดสติปัญญา
                -วิธีที่ 1 หาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สูตรของเพียร์สัน(ข้อที่หากับคะแนนรวมของข้ออื่น ๆ)
                    -วิธีที่ 2 แบ่ง 25%(กลุ่มสูง/กลุ่มต่ำ) ทดสอบความแตกต่างด้วย t-test (เกณฑ์ 1.70 ขึ้นไป)

        ความตรง
            -ความตรงตามเนื้อหา ใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC) จาก ผชช. เกณฑ์ .5 ขึ้นไป
            -ความตรงตามเกณฑ์
                -ความตรงตามสภาพ  ถ้าข้อมูลอันตรภาค ใช้สูตรของเพียร์สัน(กับคะแนนมาตรฐานหรือเกณฑ์) ถ้าข้อมูลจัดอันดับใช้สูตรของสเปียร์แมน บราวน์
                    -ความตรงเชิงพยากรณ์ ใช้สูตรของเพียร์สัน(เทียบกับคะแนนเกณฑ์)
            -ความตรงตามโครงสร้าง
                -วิธีที่ 1 หา IOC (กรณีไม่ใช่การวัดด้านเนื้อหา)
                    -วิธีที่ 2 เทคนิคกลุ่มรู้ชัด แล้วเปรียบเทียบโดยใช้ t-test (กรณีไม่ใช่การวัดด้านเนื้อหา)
                    -วิธีที่ 3 เทียบกับเครื่องมืออื่น โดยใช้สูตรของเพียร์สัน
                    -วิธีที่ 4 วิธีวิเคราะห์หลายลักษณะหลายวิธี
                    -วิธีที่ 5 หาความสอดคล้องภายในเครื่องมือ
                    -วิธีที่ 6 วิเคราะห์องค์ประกอบ

        ความเที่ยง
            -เชิงความคงที่  วิธีการสอบซ้ำ แล้วใช้สูตรของเพียร์สัน
           
-เชิงความคล้าย วิธีใช้ข้อสอบคู่ขนาน แล้วใช้สูตรของเพียร์สัน
           
-เชิงความสอดคล้องภายใน
                -วิธีที่ 1 วิธีแบ่งครึ่งข้อสอบ หาครึ่งฉบับด้วยสูตรของเพียร์สัน แล้วหาเต็มฉบับด้วยสูตรของสเปียร์แมน บราวน์
                    -วิธีที่ 2 วิธีใช้สูตร KR-20,KR-21(กรณีคะแนนเป็น 0 กับ 1)
                    -วิธีที่ 3 สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค(กรณีคะแนนไม่ใช่ 0 กับ 1)

        การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลยังมีอีกหลายด้าน เช่น ความเป็นปรนัย  ความยุติธรรม  ความสามารถในการนำไปใช้ แต่สิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบคือความตรง และความเที่ยง โดยจะตรวจสอบความตรงเป็นอันดับแรกเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเครื่องมือสามารถวัดได้ตรงในสิ่งที่ต้องการวัด  จากนั้นจะต้องตรวจสอบความเที่ยงเพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่า เครื่องมือมีความคงเส้น คงวาในการวัด เกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อคิดอย่างหนึ่งว่า "เครื่องมือที่มีความตรง มักจะมีความเที่ยง แต่เครื่องมือที่มีความเที่ยง อาจจะไม่มีความตรงก็ได้"
ที่มา : http://school.obec.go.th/msp/stou24703.htm
ตัวอย่างโครงงานการพัฒนาเครื่องมือ
1.      โครงงานพัฒนาการ IQ EQ เด็กปฐมวัย
ที่มา : http://noomtest.comoj.com/iq.html
2.      โครงงานพัฒนาฐานข้อมูลด้านสติปัญญาเด็กไทย
ที่มา : http://www.iqeqdekthai.com/
3.      โครงงานคอมพิวเตอร์โปรแกรมประยุกต์ธนาคารความดี
4.      โครงงานคณิตศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง conic font
ที่มา : http://conicfont.chs.ac.th/
5.      โครงงานภาพสามมิติ
ที่มา : http://www.yangtalad.ac.th/worknid/worknid52/worknid50552/Wef/Index3.html

ผู้จัดทำ
นางสาวสวรรยา  ฟักจันทร์  เลขที่  23
นางสาวอภิญญา  นันตาเครือ  เลขที่ 30
มัธยมศึกษาปีที่ 6/10


ใบงานที่14 เรื่อง การศึกษาข้อมูลโครงงาน



ใบงานที่ 14 เรื่อง การศึกษาข้อมูลโครงงาน
--------------------------------------------------------

จาก หัวข้อโครงงานทั้ง 10 โครงงาน (ใบงานที่ 13) ให้นักเรียนเลือกโครงงานที่สนใจมา 3 โครงงาน ( ให้นักเรียนเลือกโครงงานที่บูรณการกับกลุ่มสาระอื่น โดยที่ต้องนำภูมิปัญญาชาวบ้าน ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น พร้อมทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกด้วย )
 แล้วบอกวิธีการศึกษาข้อมูลโครงงานนั้นว่า นักเรียนจะหาข้อมูลในการทำโครงงานได้จากแหล่งใดบ้าง อย่างน้อยโครงงานละ 2 แหล่ง รวมทั้งกำหนดเวลาในการศึกษาแต่ละแหล่งว่าใช้เวลาเมื่อใด ประมาณเท่าใด ? บันทึกลงกระดาษ A4

โครงงานที่น่าสนใจจัดทำเพื่อนำเสนอ
ชื่อโครงงาน
แหล่งที่ใช้ศึกษาข้อมูล
ระยะเวลาในการศึกษา
 โครงงานที่ 1.
โปรแกรมสร้างเสียงภาษาไทย จากข้อความบนโทรศัพท์มือถือ SMART PHONE
1.อินเทอร์เน็ต

2.ผู้เชี่ยวชาญ
 2 อาทิตย์

โครงงานที่ 2.
เครื่องมือเก็บหลักฐานสาหรับ การรักษาความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์


1.อินเทอร์เน็ต

2.หนังสือ
 1 อาทิตย์

 โครงงานที่ 3.
ระบบควบคุมไฟจราจร 



1.อินเทอร์เน็ต

2.ผู้เชี่ยวชาญ
 1อาทิตย์



ผู้จัดทำ
นางสาวสวรรยา  ฟักจันทร์  เลขที่  23
นางสาวอภิญญา  นันตาเครือ  เลขที่ 30
มัธยมศึกษาปีที่ 6/10

ใบงานที่12 เรื่อง ปฏิบัติด้วยความชื่นชมและปรับปรุงให้ดีขึ้น



ใบงานที่  12 เรื่อง ปฏิบัติด้วยความชื่นชมและปรับปรุงให้ดีขึ้น
--------------------------------------------------------------

นักเรียนคนหนึ่งต้องการซื้อของฝากให้เพื่อนที่อยู่ต่างจังหวัด จึงเดินทางจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ไปซื้อของฝากที่ตลาดวโรรส (กาดหลวง) แล้วกลับมาโรงเรียนอีกครั้ง
ให้นักเรียนอธิบายกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามหัวข้อที่กำหนดให้ต่อไปนี้



นักเรียนต้องการไปตลาดวโรรส

 A = โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
B = ตลาดวโรรส


1. ตระหนักในปัญหาและความจำเป็น
        คำอธิบาย  ต้องการซื้อของฝากเพื่อนำไปให้เพื่อนที่ตนจะไปเยี่ยม

2. คิดวิเคราะห์วิจารณ์ ( เลือกของที่จะซื้อเพื่อนำไปฝากเพื่อน)
        คำอธิบาย  เลือกซื้อน้ำพริกหนุ่ม เพราะเป็นอาหารประจำภาคเหนือ  
3. สร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย
        คำอธิบาย  ทางแรกจากโรงเรียนยุพราชผ่านสี่ แยกตลาดสมเพชร สี่ แยกศรีพิงค์ ถึงตลาดวโรรส ทางที่สองจากโรงเรียนยุพราชผ่านสี่ แยกร้านถ่ายรู ป เลี้ยวซ้ายไปร้านโจ๊ก เลี้ยวขวาไปที่แจ่งศรีภูมิ ตรงไป ถึงโรงแรมเพรสซิ เดนท์ ตรงไปถึงสี่ แยกตลาดเมืองใหม่ ตรงไปถึงเจดีย์ขาว แล้วเลี้ยงขวา ผ่านสี่ แยกสะพานนครพิงค์

4. ประเมินทางเลือกและเลือกทางเลือก (เลือกวิธีการเดินทาง หลาย ๆ วิธี)
        คำอธิบาย   เลือกทางแรกจากโรงเรียนยุพราชผ่านสี่ แยกตลาดสมเพชร สี่แยกศรีพิงค์ ถึงตลาดวโรรสเพราะระยะทางสั้น และใช้เวลาในการเดินน้อยกว่าทางที่สอง

5. กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ (กำหนดวิธีการเดินทางที่เหมาะสมจากข้อ 4)
        คำอธิบาย  1. วางแผนรายการอาหารที่ตองการจะซื้อ คือ น้ำพริกหนุ่ม 
                        2. กาหนดเวลาในการเดินทางและซื้ออาหาร
                        3. เลือกวิธีการเดินทางโดยรถมอเตอร์ไซต์ และเดินทาง 
                        4. ตรวจสอบรายการอาหาร
                        5. เดินทางกลับโรงเรียน

6. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
        คำอธิบาย  ทางเดินด้วยความสบายใจ กาย ไม่รีบเร่ ง
7. ประเมินระหว่างปฏิบัติ
        คำอธิบาย  ใช้เวลาเดินทางหรือติดขัดนานหรือไม่ 
8. ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
        คำอธิบาย   โดยการวางแผนอยู่ตลอดเวลา เมื่อเกิดการผิดพลาดของลาดับขั้นตอนการปฏิบัติ 
9. ประเมินผลรวมเพื่อให้เกิดความภูมิใจ
        คำอธิบาย  ทุกอย่างเป็ นไปตามที่กาหนดหรือลำดับขั้นตอนการปฏิบัติดีหรื อไม่



ผู้จัดทำ
นางสาวสวรรยา  ฟักจันทร์  เลขที่  23
นางสาวอภิญญา  นันตาเครือ  เลขที่ 30
มัธยมศึกษาปีที่ 6/10

ใบงานที่10 เรื่อง คิดวิเคราะห์สร้างทางเลือก และเกณฑ์ที่ใช้



ใบงานที่ 10 เรื่อง คิดวิเคราะห์สร้างทางเลือก และเกณฑ์ที่ใช้
--------------------------------------------------------------

ให้นักเรียนสร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย โดยเลือกวิธีที่ทำกิจกรรมที่กำหนดให้ต่อไปนี้


ให้นักเรียนเลือกกระบวนการหรือกิจกรรมที่ต้องน่าจะทำได้ เมื่อทำกิจกรรมต่อไปนี้
1. ปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่บ้าน (ต้องตอบให้ครบทุกวิธี)
        วิธีที่ 1 ปลูกในกระถางดินเผา
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ... พื้นที่มีจำกัด ...
        วิธีที่ 2  ปลูกในกระบะไม้
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ...เป็นไม้ที่สามารถปลูกในกระบะได้
        วิธีที่ 3  ปลูกในร่องสวน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ เป็นการตกแต่งไปในตัว
        วิธีที่ 4  ปลูกพื้นที่ข้างบ้าน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์
        2. เก็บอาหารให้อยู่ได้นาน ๆ (ต้องตอบให้ครบทุกวิธี)
        วิธีที่ 1  ดองเค็ม
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ชอบอาหารรสเค็ม
        วิธีที่ 2  ตากแห้ง
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ เก็บไว้ได้นาน
        วิธีที่ 3  .แช่แข็ง
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ .รักษาอาหารให้สดใหม่เสมอ
        วิธีที่ 4  สารปรุงแต่งอาหาร
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ถนอมอาหารได้ดีกว่าอื่นๆ
        3. ตกแต่งห้องเรียนให้สวยงาม (ต้องตอบให้ครบทุกวิธี)
        วิธีที่ 1 บริเวณหน้าห้องเรียน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ สร้างบรรยากาศ
        วิธีที่ 2  .บริเวณในห้องเรียน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ทำให้ห้องไม่ดูอึดอัด
        วิธีที่ 3  บอร์ดหน้าห้อง
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ มีสาระความรู้จากการเอาเทศการสำคัญมาแปะบอก
        วิธีที่ 4  ชั้นวางรองเท้า
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ความสะอาด


4. การสอบเข้ามหาลัย
        วิธีที่ 1 ตั้งใจเรียนในห้อง
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ปูพื้นฐานความรู้
        วิธีที่ 2  เรียนพิเศษ
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ เพิ่มเติมส่วนที่ยังไม่เข้าใจ
        วิธีที่ 3  อ่านหนังสือ
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ทบทวนความรู้
        วิธีที่ 4  ทำแบบฝึกหัด
                        เกณฑ์ที่เลือกใช้ ฝึกใช้ความรู้จริงโดยนำมาประยุกต์ให้เข้ากับข้อสอบ


ผู้จัดทำ
นางสาวสวรรยา  ฟักจันทร์  เลขที่  23
นางสาวอภิญญา  นันตาเครือ  เลขที่ 30
มัธยมศึกษาปีที่ 6/10